วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Bill of Exchange


Bill of Exchange

ตั๋วแลกเงิน 
Bill of Exchange
        ตั๋วแลกเงิน หมายถึง หนังสือตราซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้สั่งจ่าย” สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้จ่าย” ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน” ตั๋วแลกเงินจึงเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินนั่นเอง 
อนุมาตรา 
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน 
        คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินมีความหมายสำคัญเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรู้เห็นทราบได้ทันทีว่าตราสารนั้นเป็นตราสารพิเศษ และเนื่องจากเมื่อตราประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้น ตั๋วเงินเป็นของใหม่ไม่สู้แพร่หลาย จึงต้องบัญญัติให้ระบุลงไปในตั๋วให้ชัดแจ้งว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ประกอบกับ Uniform Law (1930) ซึ่งเราอาศัยเป็นหลักในการร่างกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน 
        สำหรับตั๋วแลกเงินมาจากต่างประเทศ อาจไม่มีคำว่า ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เพราะบางประเทศ กฎหมายของเขาไม่บังคับให้ต้องระบุดังในมาตรา 909 (1) อย่างไรก็ดี คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินไม่จำเป็นต้องเขียนที่หัวกระดาษ อาจเป็นข้อความในตั๋วเงินว่า first of exchange ก็ได้ 
อนุมาตรา 
(2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน 
        รายการนี้เป็นข้อบังคับเด็ดขาด ถ้าขาดไปจะไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910) ตามรูปตัวอย่างตั๋วแลกเงินคือ “โปรดจ่ายเงินจำนวนหนึ่งหมื่นบาท” ถ้าไม่กรอกจำนวนเงินเสียเลยหรือกรอกจำนวนเงินมิได้เป็นไปตามที่ผู้สั่งจ่ายขอร้อง ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ อธิบายแยกได้เป็น 3 หัวข้อ คือ 
ก. คำสั่ง หมายความว่า เป็นคำบงการหรือคำบอก เพื่อให้ทำหรือให้ปฏิบัติโดยไม่ให้โอกาสเลือกทำหรือเลือกปฏิบัติของผู้รับคำสั่งและมิใช่เพียงแต่คำขอร้องหรือคำอ้อนวอนที่ผู้รับคำขอร้องหรือคำอ้อนวอนจะทำตามหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ดี “คำสั่ง” ก็ไม่จำต้องเขียนลงไปในตัวแลกเงินตรงๆ ว่า “ข้าพเจ้ามีคำสั่งให้จ่ายเงิน” เพราะอาจใช้ถ้อยคำสุภาพลงไปในคำสั่งนั้นได้ เช่น “โปรดจ่ายเงิน” ซึ่งจะไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินฉบับนั้นเสียไปเพราะมีความหมายเป็นข้อความกำหนดให้จ่ายเงินโดยผู้จ่ายไม่มีโอกาสเลือกจ่ายหรือไม่จ่ายตามอัธยาศัยของผู้จ่ายเช่นเดียวกัน 
ข. อันปราศจากเงื่อนไข หมายความว่า ลักษณะสำคัญที่สุดของตั๋วแลกเงิน คือ ความแน่นอนที่ตั๋วแลกเงินจะต้องได้รับการจ่ายเงินตามตั๋วนั้น จะมีเงื่อนไขในการคำสั่งให้จ่ายเงิน ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมเกิดความไม่แน่นอนขึ้น คำว่าเงื่อนไข หมายความว่า เหตุการณ์อันใดอันหนึ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน (เทียบมาตรา 182 เติมมาตรา 144) จึงต่างกับเงื่อนเวลา ซึ่งจะต้องมาถึงในอนาคตอย่างแน่นอน ดั้งนั้น ข้อความในคำสั่งให้จ่ายเงินจะเป็นเงื่อนไขหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความแน่นอนหรือไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งนั่นเอง 
ค. ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน หมายความว่า คำสั่งในตั๋วแลกเงินต้องเป็นคำสั่งจ่ายเงินถ้าเป็นคำสั่งให้กระทำการอย่างอื่นนอกจากเงินแล้วจะไม่ใช่ตั๋วแลกเงิน แต่ถ้ามีคำสั่งว่าให้จ่ายเงินและสิ่งของอื่นควบไปด้วย คงมีผลเฉพาะคำสั่งให้จ่ายเงินเท่านั้น ส่วนคำสั่งที่ให้จ่ายสินค้าที่ระบุไว้ ย่อมไม่มีผลแก่ตั๋วแลกเงิน (มาตรา 899) และถ้ามีคำสั่งให้ผู้รับตั๋วแลกเงินเลือกเอาว่าจะรับเงินหรือรับสิ่งของอื่นแทน ดังนี้น่าจะทำไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน คำว่า “เงิน” หมายถึง เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติเงินตรา ตั๋วแลกเงินโดยมากใช้ในระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงสั่งจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศก็ได้ (มาตรา 196) คำว่า “เงินจำนวนแน่นอน” หมายความว่า ต้องเป็นเงินจำนวนที่เที่ยงแท้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปทางเพิ่มหรือทางลดลงได้ 
อนุมาตรา
 (3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย 
     รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องให้ถือว่าไม่เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910) 
        ผู้จ่าย คือ ผู้รับคำสั่งให้ใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน จึงจำเป็นที่ผู้สั่งจ่ายต้องระบุชื่อผู้จ่ายไว้ในตั๋วแลกเงิน ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ และอาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกันจ่ายเงินก็ได้ เว้นแต่คำสั่งให้บุคคลหลายคนจ่ายเงินเรียงตามลำดับก่อนหลังโดยไม่ระบุให้รับผิดร่วมกัน หรือคำสั่งให้เลือกผู้จ่ายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใดในหลายคนที่ระบุโดยไม่ระบุให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันจ่ายเงิน ย่อมทำให้ไม่ทราบตัวผู้จ่ายที่แน่นอนทำให้ตั๋วแลกเงินนั้นเสียไป 
        การระบุชื่อจ่าย อาจระบุเพียงตำบลที่อยู่ซึ่งเข้าใจกันก็ได้ การระบุชื่อผู้จ่ายที่ไม่มีตัวตนหรือสมมติขึ้น ก็ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป เพราะมีรายการชื่อผู้จ่ายแล้ว และตั๋วแลกเงินไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ส่วนยี่ห้อเป็นชื่อที่บุคคลใช้ในการค้า ไม่เป็นนิติบุคคล การระบุยี่ห้อเป็นผู้จ่ายต้องเข้าใจว่าหมายถึงบุคคลใด ถ้าไม่อาจทราบได้ ก็เท่ากับไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายตามที่ มาตรา 912 วรรคสอง บัญญัติว่า “ตั๋วแลกเงินจะสั่งจ่ายเอาจากตัวผู้สั่งจ่ายเองก็ได้” 
อนุมาตรา
 (4) วันถึงกำหนดใช้เงิน 
วันถึงกำหนดใช้เงิน ย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ 
1. ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ 
2. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น 
3. เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น 
4. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น 
        รายการนี้ถ้าไม่ระบุไว้ ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป แต่กฎหมายให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น (มาตรา 910 วรรคสอง) 
อนุมาตรา
(5) สถานที่ใช้เงิน 
        สถานที่ใช้เงินนั้น ตามความคิดธรรมดาที่ระบุไว้ก็เพื่อผู้ทรงจะได้รู้ตำแหน่งแห่งที่ในการที่จะเอาตั๋วไปขึ้นเงิน แต่ในกฎหมายตั๋วเงินนั้น ผู้จ่ายยังมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาในตั๋วแลกเงิน สถานที่ใช้เงินจึงมีความสำคัญที่ผู้ทรงจะยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้ผู้จ่ายรับรองหรือเพื่อเรียกร้องให้ผู้จ่ายใช้เงิน ณ ที่ใดตามที่กำหนดไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ถ้าไม่มีสถานที่ใช้เงินตามที่ระบุผู้ทรงต้องทำการคัดค้านไว้ (ม. 962) จึงจะไม่เสียสิทธิไล่เบี้ย (ม. 973) กรณีที่ไม่ได้แถลงไว้ในตั๋วแลกเงิน มาตรา 910 วรรคสาม “ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาผู้จ่ายเป็นสถานที่ใช้เงิน” 
อนุมาตรา 
(6) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ 
        รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องไปย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน ความสำคัญของชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินคือ ทำให้ผู้จ่ายทราบว่าจะจ่ายเงินให้แก่ใคร จะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ จะเป็นชื่อจริงหรือชื่อสมมุติ หรือตำแหน่งก็ได้ (ถ้าเป็นชื่อสมมุติและไม่มีตัวจริง กฎหมายอังกฤษให้จ่ายแก่ผู้ถือ แต่ของไทยไม่ได้ใช้อย่างนั้น) 
อนุมาตรา 
(7) วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน 
ก. วันออกตั๋วเงิน หมายความถึงวันที่ระบุในตั๋วเงินนั้นได้ออกเมื่อใด ซึ่งกฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องใช้ “ตามวันแห่งปฏิทิน” ดังนั้นอาจระบุอย่างอื่นได้ เช่น วันเข้าพรรษา ปี 2537 หรือ วันเฉลิมพระชนมพรรษา ปี 2538 เป็นต้น ความสำคัญ คือ 
1) แสดงให้รู้กำหนดอายุของตั๋วเงิน ตามชนิดต่าง ๆ เช่น ชนิดใช้เงินเมื่อเห็น หรือ เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็นว่า ผู้ทรงต้องนำตั๋วยื่นให้ผู้จ่ายใช้เงินหรือรับรองภายในกำหนด 
2) ตั๋วเงินชนิดที่ให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น วันออกตั๋วเงินมีความสำคัญที่จะต้องระบุไว้ในตั๋วนั้น 
3) ต้องใช้ในการคำนวณดอกเบี้ย 
- บุคคลที่จะลงวันออกตั๋วเงิน มีได้ 2 คน คือ (1) ผู้สั่งจ่าย (2) ผู้ทรง 
1) กรณีผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ลงวันออกตั๋วเงิน : ผู้สั่งจ่ายสามารถตั้งใจลงวันให้ผิดความจริงได้ คือ ลงวันย้อนต้น ลงวันถัดไป หรือ ลงวันล่วงหน้า ก็ได้ 
2) กรณีผู้ทรงเป็นผู้ลงวันออกตั๋วเงิน : ม. 910 วรรคห้า “ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้” และ มาตรา 932 วรรคแรก “ตั๋วแลกเงินฉบับใดเขียนสั่งให้ใช้เงินในกำหนดระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น แต่หากมิได้ลงวันไว้ ฯลฯ ท่านว่าผู้ทรงจะจดวันออกตั๋ว ฯลฯ ลงตามที่แท้จริงก็ได้ แล้วพึงให้ใช้เงินตามนั้น” หมายความว่า ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายมิได้ลงวันออกตั๋วเงินไว้เลย ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือผู้ทำการแทนผู้ทรงโดยชอบย่อมมีสิทธิที่จะจดวันออกตั๋วได้ แต่ต้องเป็นการจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงและการจดวันนั้นต้องจดโดยสุจริต คือ จดตามวันที่ผู้ทรงเชื่อหรือเข้าใจว่าเป็นวันที่ถูกต้องนั่นเอง 
        ถ้าผู้ทรงจดวันลงไปไม่ตรงตามที่เป็นจริง ที่เรียกว่า ลงวันคลาดเคลื่อนหรือลงวันผิดนั้น ไม่ว่าผู้ทรงจะสุจริตหรือไม่สุจริตก็ตาม ถ้าตั๋วเงินนั้นโอนต่อไปยังผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนถัดไปแล้ว ก็ต้องบังคับตาม ม. 932 วรรคสอง “อนึ่ง ท่านบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ผู้ทรงทำการโดยสุจริตแต่ลงวันคลาดเคลื่อนไปด้วยสำคัญผิดและในกรณีลงวันผิดทุกสถาน หากว่าในภายหลังตั๋วเงินนั้นตกไปยังมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ท่านให้คงเป็นตั๋วเงินที่ใช้ได้และพึงใช้เงินกันเหมือนดั่งว่าวันที่ได้จดลงนั้นเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริง” ที่กล่าวมาในข้อ 2 นี้เป็นกรณีที่ผู้สั่งจ่ายไม่ได้ลงวันออกตั๋วไว้เลย 
ข. สถานที่ออกตั๋วเงิน รายการนี้ไม่บังคับเด็ดขาด ม. 910 วรรคสี่ “ถ้าตั๋วแลกเงินไม่แสดงให้ปรากฏสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วเงินนั้นได้ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้สั่งจ่าย” 
        ความสำคัญคือ เพื่อให้รู้ว่าเป็นตั๋วเงินภายในประเทศหรือตั๋วเงินออกมาแต่ต่างประเทศ และให้รู้ที่อยู่ผู้สั่งจ่ายในกรณีตั๋วเงินขาดความเชื่อถือโดยผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่ยอมใช้เงิน ผู้ทรงจะได้หาตัวผู้สั่งจ่ายพบ หรือจะได้ส่งคำบอกกล่าวได้ (ม. 963) 
อนุมาตรา 
(8) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย 
รายการนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (ม. 910) 
ม. 9 “เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือบุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น” 
ม. 900 วรรคสอง “ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แกงได หรือลายพิมพ์นิ้วมือ อ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ ถึงแม้ว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่” 
9.1.2 วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน 
วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน คือ วันถึงกำหนดใช้เงิน 
ม. 913 “อันวันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้นท่านว่าย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ คือ 
(1) ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ หรือ 
(2) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น หรือ 
(3) เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น หรือ 
(4) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น”แบ่งเป็น 2 ชนิด 
ก. ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (ตาม ม. 913 (3)) 
- ตั๋วที่ให้ใช้เงินเมื่อเห็น นั้นผู้ทรงต้องยื่นให้ใช้เงินภายในหกเดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ม. 944, 928 
- ตั๋วที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม นั้น ผู้ทรงยื่นตั๋วทวงถามให้ใช้เงินเมื่อใดผู้จ่ายต้องใช้เงินทันที ผู้ทรงเก็บตั๋วไว้ได้นาน อาจจะเป็นสิบปี ตามใดที่ไม่ทวงถาม กำหนดอายุความยังไม่มี อายุความยังไม่เริ่มนับตาม ม. 1001, 1002 นัย ฎ. 404/2515 เว้นแต่เช็ค ม. 990 “ผู้ทรงต้องยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่นภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายในสามเดือน ถ้ามิฉะนั้น ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วย เพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น” 
ข. ตั๋วแลกเงินที่มีกำหนดเวลาให้ใช้เงิน (ตาม ม. 913 (1) (2) (4))แบ่งเป็น 3 ชนิด 
(1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ (ตาม ม. 913 (1)) : ปกติจะกำหนดตามวันแห่งปฏิทิน แต่กฎหมายไม่ได้กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่า “ตามวันแห่งปฏิทิน” จึงอาจกำหนดเป็นวันอื่นที่แน่นอนได้ 
(2) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ตาม ม. 913 (2) 
(3) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น ตาม ม. 913 (4) : ผู้ทรงต้องยื่นตั๋วให้เห็นก่อนจึงจะเริ่มนับวัน 
                         ตัวอย่างของตั๋วแลกเงิน 

mind mapBill of Exchange

 
ที่มาhttp://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/
 
 
บริการเรียกเก็บเงินตามเอกสารสินค้าออกภายใต้เลตเตอร์ออฟเครดิต   (Export Collection under L/C)

ผู้ส่งออกที่ต้องการเพิ่มความมั่นใจในการได้รับชำระเงินจากคู่ค้าภายใต้การค้าขายผ่านเลตเตอร์
ออฟเครดิต ซึ่งเน้นความครบถ้วน ถูกต้องของเอกสารการส่งออกเป็นสำคัญ  ธนาคารกสิกรไทยพร้อมตอบสนองความต้องการของคุณ  ด้วยบริการเรียกเก็บเงินตามเอกสารสินค้าออกภายใต้
เลตเตอร์ออฟเครดิต ด้วยพนักงานตรวจเอกสารทุกคนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร UpSkill UCP600 ซึ่งเป็นหลักสูตรของสภาหอการค้านานาชาติ และผู้เชี่ยวชาญในการตรวจเอกสารภายใต้
เลตเตอร์ออฟเครดิตระดับนานาชาติของพนักงานกสิกรไทย (Certified Documentary Credit Specialists - CDCS) ที่ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารก่อนส่งไปเรียกเก็บเงิน พร้อมทั้งติดตามการชำระเงินจากธนาคารผู้เปิด L/C ทำให้คุณมั่นใจในการได้รับเงินตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อธุรกิจไร้ขีดจำกัด
 
จุดเด่น
  • เพิ่มความมั่นใจในการได้รับชำระเงินค่าสินค้า  เนื่องจากธนาคารจะช่วยตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและแจ้งข้อผิดพลาดในเอกสารให้ผู้รับประโยชน์ทราบ  เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องก่อนส่งไปเรียกเก็บเงิน  ซึ่งเอกสารเหล่านี้จะตรวจโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของธนาคาร ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร UpSkill UCP600/ DC Mentor 600 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่รับรองโดยสภาหอการค้านานาชาติ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าเอกสารจะเป็นไปตามเงื่อนไข ข้อกำหนดใน L/C และตามกฎข้อบังคับของสภาหอการค้านานาชาติ และ ติดตามผลการชำระเงินจากธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อให้ผู้รับประโยชน์ได้รับการชำระตามเวลาที่สมควร
  •  รับประกันส่งเอกสารสินค้าออกภายใต้ L/C ไปยังธนาคารผู้เปิด L/C ภายในวันทำการเดียวกัน หากยื่นเอกสารที่ครบถ้วน ถูกต้องตรงตามเงื่อนไข L/C ก่อน 14.00 น.
  • บริการรายงานเอกสารที่ส่งไปเรียกเก็บพร้อมหมายเลขนำส่งเอกสารทุกชุดทางอีเมล   ทำให้คุณสามารถแจ้งสถานะเอกสารให้คู่ค้าทราบได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าโทรศัพท์ทางไกลได้มาก
  • บริการพิเศษ Extra Hour โดยคุณสามารถยื่นเอกสารนอกเวลาทำการธนาคาร รวมถึง วันเสาร์-อาทิตย์ ผ่านจุดรับเอกสาร DHL ที่กระจายอยู่ตามย่านธุรกิจในกรุงเทพฯ เช่น สีลม สุขุมวิท ทำให้คุณคลายความกังวลในการส่งมอบเอกสารไม่ทันได้
รายละเอียด
ประเภทของบริการ
เป็นบริการที่ธนาคารทำหน้าที่เป็นธนาคารผู้ได้รับการแต่งตั้ง (Nominated Bank) จากธนาคารผู้เปิด L/C  หรือ  เป็นตัวแทนของผู้รับประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการจากธนาคารผู้เปิด L/C ในต่างประเทศซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ซื้อตาม L/C  โดยส่งเอกสารตาม L/C ที่ผู้รับประโยชน์ตาม L/C (Beneficiary)  ยื่นต่อธนาคารเพื่อให้เรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้เปิด L/C  ซึ่งธนาคารจะช่วยตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์และความถูกต้องของเอกสารก่อนส่งไปเรียกเก็บเงินให้ 

เอกสารประกอบการสมัคร
1. ใบคำขอรับซื้อ/ซื้อลดตามเอกสารสินค้าออกที่มีเลตเตอร์ออฟเครดิตกำกับ (APPLICATION FOR NEGOTIATION/DISCOUNT OF EXPORT BILLS DRAWN UNDER LETTER OF CREDIT)
2. ต้นฉบับเลตเตอร์ออฟเครดิต
3. เอกสารอื่นๆ ตามที่เรียกขอในเลตเตอร์ออฟเครดิต

เงื่อนไขการใช้บริการ 
ลูกค้ามีเอกสารสินค้าออกและ L/C โดยยื่นผ่านธนาคารกสิกรไทย
 
Procedure of Export Collection under L/C ขั้นตอนบริการเรียกเก็บเงินตามเอกสารสินค้าออกภายใต้ L/C1. ธนาคารตรวจรับเอกสารสินค้าออกตาม L/C ที่ผู้ส่งออกยื่น พร้อมตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของเอกสาร
2. ธนาคารส่งเอกสารไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้เปิด L/C พร้อมติดตามผลการชำระเงินหรือข่าวสารจากธนาคาร
    ผู้เรียกเก็บ
3. กรณีได้รับชำระเงินจะชำระเงินให้กับผู้ส่งออก
4. กรณีไม่ได้รับชำระภายในเวลาสมควร ธนาคารจะติดตามจนได้ข้อสรุป



อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมสำหรับบริการเรียกเก็บเงินตามเอกสารสินค้าออกภายใต้เลตเตอร์ออฟเครดิต
  • 1,000.- บาท ต่อฉบับ สำหรับใบกำกับราคาสินค้าฉบับแรก
  •  300.- บาท ต่อฉบับ สำหรับใบกำกับราคาสินค้าฉบับต่อไป
ที่มา  http://www.kasikornbank.com/

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Air Way Bill


  • ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air Way Bill)
        ใบตราส่งสินค้าทางอากาศเป็นเพียงใบรับสินค้าและสัญญาการขนส่งเท่านั้น


ข้อความที่สำคัญในใบตราส่งสินค้าทางอากาศมีดังนี้



ภาพ:ใบตรา.GIF

จากคุณลักษณะดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อผู้นำเข้า-ผู้ส่งออกโดยตรง คือ   

  1.ช่วยให้การติดต่อค้าขายระหว่างประเทศดำเนินไปอย่างรวดเร็ว 
  2.ผู้นำเข้า-ผู้ส่งออกสามารถลดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่นการสร้างโกดังเพื่อเก็บสินค้าที่จะ
นำเข้า-ส่งออก 
  3.ช่วยให้สินค้าแบบหรือรุ่นใหม่โดยเฉพาะสินค้าประเภทแฟชั่นส่งไปถึงตลาดในที่ต่าง ๆ
ทั่วโลกได้พร้อมกัน 
  4.การบรรจุหีบห่อสำหรับสินค้าทั่วไปที่ส่งทางอากาศมักเป็นแบบง่าย ๆ ช่วยทำให้
ประหยัดวัสดุและค่าขนส่ง 
  5.ถ้าความนิยมในตลาดต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไป ผู้นำเข้า-ผู้ส่งออกสามารถปรับตัว
ให้ทันต่อสถานการณ์ของตลาดได้ทันที โดยเฉพาะตลาดที่มีการแข่งขันมาก   
  6.การขนส่งสินค้าทางอากาศสามารถดำเนินการด้านเอกสารได้อย่างรวดเร็ว ในการ
ขนถ่ายสินค้าจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง

กรณีใดควรใช้การขนส่งทางอากาศ 
การตัดสินใจเลือกประเภทการขนส่งมักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
  1.ลักษณะของสินค้า
  -เสื่อมสภาพได้ง่าย (เช่น ผักสด ผลไม้สด ดอกไม้) 
  -สมัยนิยม (เช่น แฟชั่นเสื้อผ้าสำเร็จรูป) 
  -เร่งด่วน 
  -มูลค่าสูง 
  2.ลักษณะของความต้องการ 
  -อยู่ในระหว่างภาวะฉุกเฉิน (เช่น อาวุธสงคราม ยารักษาโรค) 
  -กำลังทดลองตลาด 
  -เป็นฤดูกาล (เช่น ผลไม้) 
  3.ลักษณะของตลาด 
  -เช่นในประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล การขนส่งด้วยวิธีอื่นอาจไม่ทันต่อเหตุการณ์ 
ผู้ที่มีบทบาทในการขนส่งสินค้าทางอากาศ 
  1.ผู้ส่งสินค้าผู้ส่งสินค้าหรือ Shipper หมายถึง ผู้ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารกำกับสินค้า หรือ Air Waybill ที่จะทำการ หรือร่วมทำการขนส่งสินค้าภายใต้เงื่อนไขใน  Air Waybill
  2.บริษัทการบิน บริษัทการบิน หรือ Carrier หมายถึงบริษัทการบินต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งบริษัทการบินที่ออกเอกสารกำกับสินค้า Air Waybill ที่จะทำการหรือร่วมทำการขนส่งสินค้าภายใต้เงื่อนไขใน Air Waybill 
  3.ผู้รับสินค้า ผู้รับสินค้า หรือ Consignee หมายถึงผู้ที่มีนามระบุอยู่ใน Air Waybill  ซึ่งบริษัทการบินจะต้องส่งมอบสินค้าให้เมื่อถึงเมืองปลายทางตามที่ระบุไว้ 

  4.บริษัทตัวแทน บริษัทตัวแทน หรือ IATA CARGO AGENT หมายถึงบริษัทที่ได้รับรองจากสมาคมการขนส่งทางอากาศและแต่งตั้ง โดยบริษัทการบินให้ดำเนินการรับและออกเอกสารกำกับสินค้า Air Waybill  พร้อมทั้งเก็บค่าขนส่งที่เกี่ยวข้องในนามของบริษัทการบิน   


  5.ศุลกากร (Customs)
ใบตราส่ง/ใบกำกับสินค้า Airway Bill
        เป็นเอกสารกำกับสินค้าโดยมีหลักฐานในการขนส่งสินค้าที่ทำขึ้นในลักษณะของสัญญา การขนส่งสินค้าระหว่างผู้ส่งออกกับผู้ทำการขนส่งโดยมีผู้รับสินค้าเป็นบุคคลที่สามที่ทำให้สัญญาการขนส่งสมบูรณ์ สัญญานี้จะครอบคลุมตั้งแต่จุดรับมอบสินค้า 
ณ สนามบินต้นทางจนถึงจุดส่งมอบสินค้าปลายทางของสินค้าทุกประเภท

เอกสารการขนส่งทางอากาศ

เอกสารขนส่งทางอากาศ (AIR WAYBILL)

        หมายถึง หลักฐานการส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อจัดส่งสินค้าจากท่าอากาศยานของผู้ผลิตไปส่งมอบให้ท่าอากาศยานผู้บริโภค
AIR WAYBILL 

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  1. MASTER AIR WAYBILL คือ เอกสารการส่งสินค้าทางอากาศที่ออกโดยผู้ประกอบการขนส่ง ซึ่งเป็นตัวแทนรับผิดชอบต่อความเสี่ยงภัยของสินค้าระหว่างการขนส่ง
  2. HOUSE AIR WAYBILL คือ เอกสารการขนส่งสินค้าทางอากาศที่ออกโดยบริษัทนายหน้าขายFREIGHที่รวมสินค้าของผู้ประกอบการหลายรายไว้ด้วยกัน แต่มีเพียง MASTER AIR WAYBILL 1 ฉบับ คลุมการขนส่งเท่านั้น

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Documents Used in Import- Export

--> เอกสารที่ใช้ในการนำเข้า -- ส่งออก <--            เลตเตอร์ออฟเครดิต (L / C) มีหลายวิธีการชำระเงินที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ วิธีการบางอย่างของการชำระเงินใช้กันอย่างแพร่หลายมีดังนี้การชำระเงินในบัญชีเงินสด AdvanceOpen เมื่อ CountertradeBill การจัดส่งสำหรับจดหมายเก็บเครดิต
เลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นวิธีการชำระเงินในการที่ผู้ส่งออกที่ความเสี่ยงน้อยกว่ามากที่สุดของประเภทอื่น ๆ ของวิธีการชำระเงิน เลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่จะจ่าย มีหลายชนิดตัวอักษรของเครดิต ที่ใช้บ่อยที่สุดในการค้าระหว่างประเทศเป็นตัวอักษรตัวที่เอาคืนไม่ได้รับการยืนยันจากบัตรเครดิตซึ่งเป็นสัญญาของการชำระเงินที่ไม่สามารถยกเลิกได้โดยปราศจากความยินยอมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง : ธนาคาร, นำเข้าและส่งออก ประเภทนี้จะถือเป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่สุดของการชำระเงินสำหรับการส่งออกและยังสำหรับผู้นำเข้า
ผู้ส่งออกสามารถบางอย่างที่จะได้รับการชำระเงินสำหรับสินค้าฝากขายเขาส่งและผู้นำเข้าสามารถมั่นใจได้ว่าเขาจะได้รับสินค้าในเวลา

          
ขั้นตอนการชำระเงินโดยเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นดังนี้ 

ขั้นตอนที่ 1     ผู้นำเข้าจะนำไปใช้อย่างใดอย่างหนึ่งของเธอ / ธนาคารในประเทศของเขาในการเปิด L / C ในการสนับสนุนผู้ส่งออก แล้วธนาคารนี้เป็นธนาคารผู้ออกบัตร
ขั้นตอนที่สอง

      รายชื่อธนาคารผู้ออกบัตรเงินฝากธนาคารในประเทศผู้ส่งออก ธนาคารนี้เป็นธนาคารที่ให้คำปรึกษา จะบอกโดยธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตที่ได้รับการเปิดสำหรับการส่งออก จากนั้นธนาคารจะแจ้งให้คำปรึกษาแก่ผู้ส่งออกของตัวอักษรของเครดิต ตัวอักษรของรายการเครดิตเอกสารที่ผู้ส่งออกที่จะต้องให้ไปที่ธนาคารของเขา (ให้คำปรึกษาแก่ธนาคาร) ก่อนที่เขาจะสามารถได้รับเงิน โดยปกติเอกสารที่จำเป็นสำหรับการส่งออกที่จะได้รับเงินคือบิลรับรองการประกอบธุรกิจประกันภัย Lading พาณิชย์ InvoiceSometimes เอกสารอื่น ๆ บางอย่างเช่นดังต่อไปนี้จะต้องได้; หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่มีคุณภาพ
ขั้นตอนที่สาม

      ผู้ส่งออกจะส่งฝากไปยังผู้นำเข้า ผู้ส่งออกจะต้องมีการระมัดระวังเกี่ยวกับเวลาการส่งมอบ สินค้าจะต้องถูกส่งไปก่อนตัวอักษรของเครดิตที่หมดอายุ
ขั้นตอนที่สี่

      ผู้ส่งออกยื่นเอกสารที่จำเป็นทุก (ที่กล่าวถึงในขั้นตอนที่สอง) ไปยังธนาคารที่ให้คำปรึกษาขึ้นอยู่กับสถานการณ์ โดยทั่วไปเอกสารเหล่านี้บ่งชี้ว่าสินค้าฝากขายอยู่ในวิธีการเพื่อให้ผู้นำเข้า
ขั้นตอนที่ 5 

       ธนาคารตรวจสอบเอกสารให้คำปรึกษากับตัวอักษรของเครดิต หากพวกเขาตอบสนองความต้องการของตัวอักษรของเครดิตที่ธนาคารจะจ่ายส่งออกที่เป็นไปตามเงื่อนไขของตัวอักษรของเครดิต
ขั้นตอนที่6 
       ให้คำปรึกษาแก่ธนาคารที่ได้รับเอกสารจากผู้ส่งออกจะส่งเอกสารไปยังธนาคารผู้ออกบัตร
ขั้นตอนที่ 7 

      ธนาคารตรวจสอบเอกสารที่ ถ้าเอกสารที่มีทั้งหมดขวาธนาคารผู้ออกบัตรส่งการชำระเงินเป็นเงินคืนไปยังธนาคารที่ให้คำปรึกษาซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ผู้ส่งออก
ขั้นตอนที่ 8 
       ธนาคารผู้ออกบัตรเดบิตบัญชีผู้นำเข้าของจำนวนเงินที่จ่ายไปยังธนาคารที่ให้คำปรึกษา
ขั้นตอนที่ 9  ธนาคารผู้ออกบัตรออกเอกสารที่ผู้นำเข้า
ขั้นตอนที่10
       ผู้นำเข้าส่งต่อเอกสารการขนส่งไปยังตัวแทนหรือสำนักงานท้องถิ่นของผู้ให้บริการ
ขั้นตอนที่11 
      ผู้นำเข้าสามารถเรียกร้องสินค้าฝากขายจากพอร์ตของการปล่อย

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Documents Used in Import – Export

การชำระเงินค่าสินค้า

การชำระเงินค่าสินค้า
เมื่อมีการซื้อขายสินค้าในธุรกรรมระหว่างประเทศเกิดขึ้น การชำระเงินค่าสินค้าที่ผู้ซื้ออยู่ในประเทศหนึ่ง และผู้ขายอยู่ในอีกประเทศหนึ่ง สามารถกระทำได้หลายวิธีดังนี้

1. 
การชำระโดยตรงด้วยการโอนเงิน
     ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายด้วยการโอนเงินก่อนการส่งมอบสินค้า   (T/T)  การซื้อขายในเทอมนี้ผู้ซื้อจะเสียเปรียบหากผู้ขายไม่ส่งสินค้าให้ ในภายหลัง หากจะใช้เทอมนี้ผู้ซื้อและผู้ขายต้องเป็นทำธุรกิจร่วมกันมานาน เพราะใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นพิ้นฐานในการรับประกัน
.
2. การชำระโดยผ่านธนาคาร
      ในธุรกิจระหว่างประเทศ การชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ ชำระเงินผ่านธนาคาร ซึ่งมี 4 ประเภทดังนี้

• การชำระเงินด้วย Letter of credit (L/C)

• การชำระเงินโดยวิธีเรียกเก็บจากธนาคาร (Bill for collection)
• การชำระเงินแบบ Open Account
• การชำระเงินแบบ Consignment

1.1 
การชำระเงินด้วย Letter of credit
เป็นการชำระเงินค่าสินค้าผ่านธนาคาร เพราะเป็นหลักประกันว่าผู้ขายจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อมีการส่งมอบสินค้า ลงเรือหรือยานพาหนะขนส่งตามแต่ที่ได้ตกลงไว้ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า

L/C เป็นตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์จามคำสั่งของผู้ซื้อ (applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับแอลซีในประเทศของผู้ขาย (advising bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิดแอลซีว่าจะจ่ายเงินเงินตาม ที่ระบุไว้ในแอลซีให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าส่งมอบสินค้า และได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (negotiating bank) ได้ครบถ้สนถูกต้องตามที่ระบุไว้ในแอลซี ตลอดจนเงื่อนไขต่างๆและระยะเวลาที่กำหนดในแอลซีด้วย


ข้อควรรู้

- เงื่อนไขต่างๆในแอลซีจะใช้ควบคุมได้เฉพาะความถูกต้องของเอกสารเท่านั้น ไม่สามารถควบคุมตัวสินค้าได้
- ในส่วนคุณภาพของสินค้า หากผู้ซื้อไม่แน่ใจว่าผู้ขายจะเชื่อถือได้หรือไม่ ผู้ซื้อสามารถแต่งตั้งบริษัทตัวแทนผู้ตรวจสินค้าโพ้นทะเล (independent surveyor) ในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าและออกหนังสือรับรองการตรวจสอบให้ ดังนั้นต้องระบุในแอลซีด้วยว่า ผู้ขายจะต้องแนบหนังสือรับรองการตรวจสอบสินค้า (inspection certificate) ที่ออกให้โดยตัวแทนของผู้ซื้อแนบไปกับเอกสารขึ้นเงินที่ผู้ขายนำส่งธนาคาร ด้วย

2.2 
ประเภทของ Letter of credit
แอลซีที่ใช้ในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศมี 2 ประเภท คือ
1. แอลซีที่เพิกถอนได้ (Revocable Letter of credit) เมื่อผู้ซื้อขอเปิดแอลซีไปให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้ว ผู้ซื้อหรือธนาคารจะแจ้งยกเลิกเสียเมื่อไหร่ก็ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ขาย ดังนั้นจึงไม่มีนิยมนำมาใช้ในการซื้อขายระหว่างประเทศ

2. 
แอลซีที่เพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Letter of credit) เมื่อธนาคารของผู้ซื้อเปิดแอลซีไปแล้ว ธนาคารและผู้ซื้อไม่สามารถยกเลิกแอลซีได้ อย่างไรก็ตามแอลซีที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นแอลซีที่เพิกถอนได้ ในทางปฎิบัติจะถือว่าเป็นแอลซีที่เพิกถอนไม่ได้

3.3 
ชนิดของ Letter of credit
1. Fix L/C คือ แอลซีที่กำหนดแน่นอนทั้งวงเงินและอายุของแอลซี เมื่อครบกำหนดอายุของแอลซีแล้วหรือผู้ขายได้ส่งสินค้าตามวงเงินแอลซีครบถ้วน แล้วจะใช้ในการส่งสินค้าหรือขอรับเงินจากธนาคารอีกไม่ได้

2. 
Straight Documentary L/C คือ แอลซีที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีรับรองว่าจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าส่งเอกสารไปให้แก่ธนาคารผู้เปิดแอลซีโดยตรงเท่านั้น แอลซีชนิดนี้ถึงแม้ผู้ขายจะเตรียมเอกสารถูกต้องทั้งหมดแต่ส่งเอกสารผ่าน ธนาคารของผู้ขายหรือธนาคารอื่นๆไปยังธนาคารผู้เปิดแอลซี ดังนั้นธนาคารผู้เปิดแอลซีจะไม่จ่ายเงินให้

3. 
Negotiation Documentary L/C คือ แอลซีที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีกำหนดให้ผู้ขายสินค้านำตั๋วเงินพร้อมเอกสาร ประกอบตามที่กำหนดในแอลซีไปขึ้นเงินค่าสินค้ากับธนาคาร ซึ่งแบ่งตามลักษณะการกำหนดธนาคารที่รับซื้อตั๋วเป็น 2 ประเภทดังนี้
- Restricted L/C คือ ธนาคารผู้เปิดแอลซีกำหนดชื่อธนาคารที่จะขึ้นเงืนได้เป็นการเฉพาะเจาะจง
- Unrestricted L/C คือ ธนาคารผู้เปิดแอลซีไม่ได้กำหนดชื่อของธนาคารที่จะขึ้นเงินได้ ดังนั้นผู้ขายสามารถนำตั๋วไปขึ้นเงินกับธนาคารใดๆก็ได้

4. 
Revolving L/C คือ แอลซีที่เมื่อใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกหรือใช้หมุนเวียนได้ ผู้ซื้อต้องการให้ผู้ขายใช้ขึ้นเงินในการส่งสินค้าได้เรื่อยๆโดยที่ผู้ซื้อ ไม่ต้องเปิดแอลซีใหม่หรือไม่ต้องมีคำขอแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินใหม่ (amendment)โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเปิดแอลซีเป็นจำนวนมาก แอลซีชนิดนี้จะเป็นแอลซีใบเล็กๆที่ใช้แทนใบใหญ่ๆที่เปิดเพียงครั้งเดียวแล้ว ทยอยส่งของเรื่อยๆในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน จึงเหมาะสำหรับการซื้อขายที่ทำกันเป็นประจำ และเป็นสินค้าชนิดเดียวกันที่ซื้อขายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นแอลซีนี้จะกำหนดจำนวนเงินที่มากพอสำหรับการส่งออกและขึ้นเงินในแต่ละ ครั้งของผู้ขายจนกว่าจะหมดอายุของแอลซีหรือจนกว่าจะหยุดการส่งสินค้า

การเปิด revolving L/C มี 2 แบบ คือ

Automactic revolving L/C เป็นแอลซีที่ใช้งานต่อได้ทันที
Controlled revolving L/C เป็นแอลซีที่ต้องขออนุญาติหรือคำยินยอมจากผู้ซื้อก่อน ผู้ขายจึงจะนำไปใช้งานได้อีก

ข้อควรรู้

- หากผู้ขายส่งสินค้าไม่ครบ อาจกำหนดให้นำสินค้าส่วนที่เหลือไปรวมกับการส่งของในครั้งถัดไปเรียกว่า Accumulative Revolving L/C ถ้าไม่อนุญาตให้นำสินค้าส่วนที่เหลือไปรวมกับการส่งสินค้าครั้งถัดไป เรียกว่า Non-
Accumulative Revolving L/C

5. 
Transferable L/C คือ แอลซีที่สามารถโอนต่อให้บุคคลอื่นได้ไม่ว่าบุคคลอื่นนั้นจะอยู่ในประเทศ เดียวกันต่างประเทศก็ได้ และโอนให้บุคคลอื่นเพียงรายเดียวหรือหลายรายก็ได้ แต่จะโอนได้เพียงทอดเดียว ผู้รับประโยชน์ (beneficiary) ที่ได้รับโอนมาจะโอนต่อไปให้บุคคลอื่นอีกทอดหนึ่งไม่ได้ และผู้โอนไม่สามารถเพิ่มเงื่อนไขที่นอกเหนือจากแอลซีที่ได้รับมาจากต่าง ประเทศ ยกเว้นจำนวนเงินหรือราคา ระยะเวลาการส่งมอบสินค้า การส่งเอกสาร การหมดอายุของแอลซี โดยจะเป็นการโอนทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน แต่จำนวนเงินที่โอนต้องไม่เกินไปกว่าที่ระบุในแอลซี

6. 
Back to Back L/C คือ การเปิดแอลซีภายในประเทศ โดยอาศัยหลักประกันแอลซีที่เปิดมาจากต่างประเทศ เพราะ ผู้ขายได้รับแอลซีจากต่างประเทศแต่ไม่มีสินค้าเป็นของตนเอง จึงใช้แอลซีชนิดนี้สั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในประเทศเดียวกัน เพื่อให้ผู้ผลิตส่งสินค้าไปนอกราชอาณาจักรแทน ดังนั้นเงื่อนไขต่างๆในแอลซีฉบับที่สองที่เปิดให้ผู้ผลิตจึงยึดตามแอลซีฉบับ แรก ยกเว้นราคาสินค้าเท่านั้นที่มีราคาต่ำกว่าแอลซีฉบับแรก เมื่อมีการส่งมอบสินค้าผู้ผลิตจะนำเอกสารไปขึ้นเงินที่ธนาคารของผู้ขาย ผู้ขายจะนำเอกสารต่างๆพร้อมตั๋วขึ้นเงินของผู้ขายไปยื่นต่อธนาคาร ธนาคารจะทำการ negotiate L/C ทั้งสองฉบับพร้อมกัน โดยนำเงินที่ได้จากแอลซีฉบับแรกไปชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ผลิตจามแอลซีฉบับ ที่สอง และนำส่วนต่างค่าสินค้าที่ได้เข้าบัญชีของผู้ขาย

7. 
Red Clause L/C คือ แอลซีที่ผู้ซื้อเปิดให้ผู้ขาย โดยอนุญาติให้ผู้ขายรับเงินค่าสินค้าบางส่วนหรือทั้งหมดไปก่อนการส่งสินค้า เมื่อผู้ขายรับเงินค่าสินค้าล่วงหน้าไปแล้ว ธนาคารผู้รับแอลซี (advising bank) จะส่งเอกสารการจ่ายเงินไปเรียกเก็บค่าสินค้าจากผู้ขายในทันที ส่วนเอกสารการส่งออกจะส่งตามไปภายหลังจากที่ผู้ขายได้ส่งออกสินค้าและนำ เอกสารมามอบต่อธนาคารแล้ว แอลซีชนิดนี้ถือเป็นสินเชื่อที่ผู้ซื้อให้แก่ผู้ส่งออก ดังนั้นผู้ซื้อต้องมีความไว้วางใจในผู้ขายเป็นอย่างมาก โดยผู้ขายต้องจ่ายดอกเบี้ยและไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยขึ้นอยู่กัยข้อตกลง

8. 
Stand by L/C คือ แอลซีที่ใช้ในการค้ำประกันค่าสินค้าหรือบริการ ค้ำประกันเงินกู้ ค้ำประกันการออก Letter of Guarantee

9. 
Domestic L/C or Local L/C คือ แอลซีที่ผู้ซื้อสินค้าเปิดให้แก่ผู้ขายที่อยู่ในประเทศเดียวกัน ซึ่งเป็นการซื่อสินค้าภายในประเทศหรือส่งออกไปยังต่างประเทศก็ได้ สกุลเงินที่ใช้เป็นสกุลเงินท้องถิ่น

4.4 
ความน่าเชื่อถือของ Letter of credit
ผู้ขายจะแน่ใจได้อย่างไรว่าแอลซีที่เปิดมาจากผู้ซื้อมีความน่าเชื่อถือเพียง ไร ดังนั้นธนาคารจึงมีส่วนสำคัญในการที่จะเพิ่มคำรับรองว่าจะจ่ายค่าสินค้าให้ แก่ผู้ขาย เมื่อมีการซื้อขายครั้งแรก ผู้ขายอาจร้องขอให้ผู้ซื้อเปิดแอลซีที่เพิ่มคำรับรองว่าจะรับซื้อตั๋วของ ธนาคารผู้รับแอลซี เพื่อเป็นหลักประกันในการที่จะได้รับการชำระค่าสินค้าจากธนาคารผู้รับแอลซี ที่อยู่ในประเทศของผู้ขาย แอลซีที่ใช้ในการชำระค่าสินค้าสามารถจำแนกความน่าเชื่อถือได้ 2 แบบ คือ

1. 
แอลซีที่ไม่มีการเพิ่มคำรับรองว่าจะรับซื้อตั๋ว (Letter of credit without adding confirmation) คือ แอลซีที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีไม่ได้ร้องขอให้ธนาคารตัวแทนผู้รับแอลซีเพิ่มคำ รับรองให้ผู้ขายว่าจะเข้าร่วมผูกพันในการชำระค่าสินค้าร่วมกับธนาคารผู้เปิด แอลซี ดังนั้นธนาคารผู้รับแอลซีจะดำเนินการเพิ่มคำรับรองดังกล่าวโดยพลการให้แก่ ผู้ขายไม่ได้

2. 
แอลซีที่มีการเพิ่มคำรับรองว่าจะรับซื้อตั๋ว (Letter of credit with adding confirmation) คือ แอลซีที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีได้ร้องขอให้ธนาคารตัวแทนผู้รับแอลซีเพิ่มคำ รับรองให้ผู้ขายว่าจะเข้าร่วมผูกพันในการชำระค่าสินค้าร่วมกับธนาคารผู้เปิด แอลซี ทำให้ผู้ขายมั่นใจว่าจะได้รับการชำระค่าสินค้าจากธนาคารที่ยืนยันแอลซี ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับธนาคารผู้เปิดแอลซีหรือประเทศของธนาคารผู้เปิดแอล ซีก็ตาม

ข้อความที่พบเสมอในแอลซีที่เพิ่มคำรับรอง คือ This credit is confirmed by us and we undertake that all documents presented in accordance with the terms and conditions of this credit will be honored by us.


ข้อควรรู้

- ธนาคารผู้รับแอลซีจะเพิ่มคำรับรองให้แก่ผู้ขายหรือไม่ก็ได้
- หากธนาคารผู้รับแอลซีไม่เพิ่มคำรับรองให้แก่ผู้ขาย ผู้ขายจะร้องขอให้ธนาคารผู้รับแอลซีจัดหาธนาคารอื่นมาเพิ่มคำรับรองให้ก็ สามารถกระทำได้
- แอลซีที่ได้รับการยืนยันเรียกว่า Confirmed L/C ส่วนธนาคารที่ยืนยันเรียกว่า Confirming Bank
- ค่าใช้จ่ายในการ confirm L/C โดยปรกติจะเป็นของผู้ขาย ซึ่งธนาคารอาจเรียกเก็บในอัตราที่สูงมากขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินของประเทศ และฐานะของธนาคารผู้เปิดแอลซี
- แอลซีที่ได้รับการยืนยันแล้ว หากมีคำขอแก้ไขเพิ่มเติม (amendment) มาจากผู้ซื้อ มิได้หมายความว่าคำขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นจะได้รับการยืนยันด้วย

5.5 
แนวทางปฎิบัติโดยสากลของ Letter of credit (UCP500)UCP500 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับประเพณีและพิธีการที่เกี่ยวกับแอลซีที่มีเอกสาร ประกอบ (The uniforms custom & practice for documentary credits,1993 revision, ICC publication no.500) ที่บัญญติขึ้นโดยสภาหอการค้าระหว่างประเทศ (International Chamber of Commerce) หรือเรียกย่อว่า I.C.C. เป็นบทบัญญัติที่ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะต้องปฎิบัติเป็นมาตรฐานที่เหมือนกัน หมดทั่วโลก และถือเป็นส่วนหนึ่งในสัญญาที่ผู้ซื้อและผู้ขายและธนาคารทุกฝ่ายที่เกี่ยว ข้องจะต้องปฎิบัติตามและมีผลผูกมัดในการซื้อขายที่กระทำโดยแอลซีนั้นๆ

ข้อความที่พบในแอลซีเกี่ยวกับการระบุให้มีผลบังคับใช้ “ประเพณีและพิธีการเกี่ยวกับแอลซีที่มีเอกสารประกอบ” คือ Subject to uniform customs & practice for documentary credit,international chamber of commerce publication no.500 หรือ Subject to UCP500 หรือ Subject to UCP 1993 revision, ICC publication No.500


3. 
การชำระเงินโดยวิธีการเรียกเก็บผ่านธนาคาร (Bill for collection)เป็น การเรียกเก็บเงินค่าสินค้าผ่านธนาคาร โดยยึดถือข้อปฎิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับตั๋วเรียกเก็บฉบับที่ 522 ปี ค.ศ.1955 (URC522) ของสภาหอการค้านานาชาติ แบ่งได้เป็น 2 ชนิดดังนี้

1. 
D/P (Document Against Payment)b> คือ ผู้ขายส่งเอกสารไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าที่ส่งไปให้ผู้ซื้อผ่านธนาคารของ ผู้ขายไปยังธนาคารตัวแทนในประเทศของผู้ซื้อ เพื่อเรียกเก็บค่าสินค้าก่อนการส่งมอบเอกสาร ซึ่งมี 2 แบบ คือ
- D/P sight คือ ผู้ซื้อจะต้องชำระค่าสินค้าก่อนจึงจะรับเอกสารจากธนาคารไปออกของได้
- D/P term คือ ผู้ซื้อต้องชำระค่าสินค้าภายในเวลาที่กำหนดในตั๋วก่อน จึงจะรับเอกสารจากธนาคารไปออกของได้ เช่น 30 วันหรือ 90 วัน

2. D/A (Document Against Acceptance)b> คือ ผู้ขายส่งเอกสารไปให้ผู้ซื้อผ่านธนาคารของผู้ขายไปยังธนาคารตัวแทนในประเทศ ของผู้ซื้อ เพื่อให้ผู้ซื้อนำเอกสารจากธนาคารไปออกของก่อนการชำระเงิน โดยเทอมนี้ต้องกำหนดจำนวนวันจ่ายเงินด้วย เช่น 30 วันหรือ 120 วัน

3. การชำระค่าสินค้าโดยวิธี Open Account
เป็นการที่ผู้ขายและผู้ซื้อตกลงซื้อขายกันโดยตรง โดยผู้ขายจะส่งสินค้าไปให้แก่ผู้ซื้อก่อน เมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าแล้วจึงไปติดต่อธนาคารเพื่อโอนเงินค่าสินค้าให้ผู้ ขายตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น 30 วันหรือ 60 วัน หลังจากที่ได้รับสินค้าหรือเห็นเอกสารตามแต่จะตกลงกัน ซึ่งเป็นการโอนทาง T/T Remittance หรือตั๋วเงิน การวื้อขายด้วยวิธีนี้ผู้ขายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะไม่มีหลักประกันว่าผู้ ซื้อจะชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ธนาคารเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อมีการโอนเงินเท่านั้น

ขอขอบคุณที่มา: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=import&group=2