วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Documents Used in Import – Export

การชำระเงินค่าสินค้า

การชำระเงินค่าสินค้า
เมื่อมีการซื้อขายสินค้าในธุรกรรมระหว่างประเทศเกิดขึ้น การชำระเงินค่าสินค้าที่ผู้ซื้ออยู่ในประเทศหนึ่ง และผู้ขายอยู่ในอีกประเทศหนึ่ง สามารถกระทำได้หลายวิธีดังนี้

1. 
การชำระโดยตรงด้วยการโอนเงิน
     ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายด้วยการโอนเงินก่อนการส่งมอบสินค้า   (T/T)  การซื้อขายในเทอมนี้ผู้ซื้อจะเสียเปรียบหากผู้ขายไม่ส่งสินค้าให้ ในภายหลัง หากจะใช้เทอมนี้ผู้ซื้อและผู้ขายต้องเป็นทำธุรกิจร่วมกันมานาน เพราะใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นพิ้นฐานในการรับประกัน
.
2. การชำระโดยผ่านธนาคาร
      ในธุรกิจระหว่างประเทศ การชำระเงินที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ ชำระเงินผ่านธนาคาร ซึ่งมี 4 ประเภทดังนี้

• การชำระเงินด้วย Letter of credit (L/C)

• การชำระเงินโดยวิธีเรียกเก็บจากธนาคาร (Bill for collection)
• การชำระเงินแบบ Open Account
• การชำระเงินแบบ Consignment

1.1 
การชำระเงินด้วย Letter of credit
เป็นการชำระเงินค่าสินค้าผ่านธนาคาร เพราะเป็นหลักประกันว่าผู้ขายจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อมีการส่งมอบสินค้า ลงเรือหรือยานพาหนะขนส่งตามแต่ที่ได้ตกลงไว้ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า

L/C เป็นตราสารทางการค้าซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์จามคำสั่งของผู้ซื้อ (applicant) ซึ่งเป็นลูกค้าของธนาคารในประเทศหนึ่ง เพื่อส่งไปให้แก่ผู้รับประโยชน์ (beneficiary) ซึ่งเป็นผู้ขายในอีกประเทศหนึ่ง โดยส่งผ่านธนาคารผู้รับแอลซีในประเทศของผู้ขาย (advising bank) ตราสารนี้เป็นคำรับรองหรือสัญญาของธนาคารผู้เปิดแอลซีว่าจะจ่ายเงินเงินตาม ที่ระบุไว้ในแอลซีให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าส่งมอบสินค้า และได้แสดงเอกสารให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อเอกสารและตั๋วเงิน (negotiating bank) ได้ครบถ้สนถูกต้องตามที่ระบุไว้ในแอลซี ตลอดจนเงื่อนไขต่างๆและระยะเวลาที่กำหนดในแอลซีด้วย


ข้อควรรู้

- เงื่อนไขต่างๆในแอลซีจะใช้ควบคุมได้เฉพาะความถูกต้องของเอกสารเท่านั้น ไม่สามารถควบคุมตัวสินค้าได้
- ในส่วนคุณภาพของสินค้า หากผู้ซื้อไม่แน่ใจว่าผู้ขายจะเชื่อถือได้หรือไม่ ผู้ซื้อสามารถแต่งตั้งบริษัทตัวแทนผู้ตรวจสินค้าโพ้นทะเล (independent surveyor) ในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าและออกหนังสือรับรองการตรวจสอบให้ ดังนั้นต้องระบุในแอลซีด้วยว่า ผู้ขายจะต้องแนบหนังสือรับรองการตรวจสอบสินค้า (inspection certificate) ที่ออกให้โดยตัวแทนของผู้ซื้อแนบไปกับเอกสารขึ้นเงินที่ผู้ขายนำส่งธนาคาร ด้วย

2.2 
ประเภทของ Letter of credit
แอลซีที่ใช้ในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศมี 2 ประเภท คือ
1. แอลซีที่เพิกถอนได้ (Revocable Letter of credit) เมื่อผู้ซื้อขอเปิดแอลซีไปให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้ว ผู้ซื้อหรือธนาคารจะแจ้งยกเลิกเสียเมื่อไหร่ก็ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ขาย ดังนั้นจึงไม่มีนิยมนำมาใช้ในการซื้อขายระหว่างประเทศ

2. 
แอลซีที่เพิกถอนไม่ได้ (Irrevocable Letter of credit) เมื่อธนาคารของผู้ซื้อเปิดแอลซีไปแล้ว ธนาคารและผู้ซื้อไม่สามารถยกเลิกแอลซีได้ อย่างไรก็ตามแอลซีที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นแอลซีที่เพิกถอนได้ ในทางปฎิบัติจะถือว่าเป็นแอลซีที่เพิกถอนไม่ได้

3.3 
ชนิดของ Letter of credit
1. Fix L/C คือ แอลซีที่กำหนดแน่นอนทั้งวงเงินและอายุของแอลซี เมื่อครบกำหนดอายุของแอลซีแล้วหรือผู้ขายได้ส่งสินค้าตามวงเงินแอลซีครบถ้วน แล้วจะใช้ในการส่งสินค้าหรือขอรับเงินจากธนาคารอีกไม่ได้

2. 
Straight Documentary L/C คือ แอลซีที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีรับรองว่าจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายสินค้าส่งเอกสารไปให้แก่ธนาคารผู้เปิดแอลซีโดยตรงเท่านั้น แอลซีชนิดนี้ถึงแม้ผู้ขายจะเตรียมเอกสารถูกต้องทั้งหมดแต่ส่งเอกสารผ่าน ธนาคารของผู้ขายหรือธนาคารอื่นๆไปยังธนาคารผู้เปิดแอลซี ดังนั้นธนาคารผู้เปิดแอลซีจะไม่จ่ายเงินให้

3. 
Negotiation Documentary L/C คือ แอลซีที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีกำหนดให้ผู้ขายสินค้านำตั๋วเงินพร้อมเอกสาร ประกอบตามที่กำหนดในแอลซีไปขึ้นเงินค่าสินค้ากับธนาคาร ซึ่งแบ่งตามลักษณะการกำหนดธนาคารที่รับซื้อตั๋วเป็น 2 ประเภทดังนี้
- Restricted L/C คือ ธนาคารผู้เปิดแอลซีกำหนดชื่อธนาคารที่จะขึ้นเงืนได้เป็นการเฉพาะเจาะจง
- Unrestricted L/C คือ ธนาคารผู้เปิดแอลซีไม่ได้กำหนดชื่อของธนาคารที่จะขึ้นเงินได้ ดังนั้นผู้ขายสามารถนำตั๋วไปขึ้นเงินกับธนาคารใดๆก็ได้

4. 
Revolving L/C คือ แอลซีที่เมื่อใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกหรือใช้หมุนเวียนได้ ผู้ซื้อต้องการให้ผู้ขายใช้ขึ้นเงินในการส่งสินค้าได้เรื่อยๆโดยที่ผู้ซื้อ ไม่ต้องเปิดแอลซีใหม่หรือไม่ต้องมีคำขอแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินใหม่ (amendment)โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเปิดแอลซีเป็นจำนวนมาก แอลซีชนิดนี้จะเป็นแอลซีใบเล็กๆที่ใช้แทนใบใหญ่ๆที่เปิดเพียงครั้งเดียวแล้ว ทยอยส่งของเรื่อยๆในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน จึงเหมาะสำหรับการซื้อขายที่ทำกันเป็นประจำ และเป็นสินค้าชนิดเดียวกันที่ซื้อขายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นแอลซีนี้จะกำหนดจำนวนเงินที่มากพอสำหรับการส่งออกและขึ้นเงินในแต่ละ ครั้งของผู้ขายจนกว่าจะหมดอายุของแอลซีหรือจนกว่าจะหยุดการส่งสินค้า

การเปิด revolving L/C มี 2 แบบ คือ

Automactic revolving L/C เป็นแอลซีที่ใช้งานต่อได้ทันที
Controlled revolving L/C เป็นแอลซีที่ต้องขออนุญาติหรือคำยินยอมจากผู้ซื้อก่อน ผู้ขายจึงจะนำไปใช้งานได้อีก

ข้อควรรู้

- หากผู้ขายส่งสินค้าไม่ครบ อาจกำหนดให้นำสินค้าส่วนที่เหลือไปรวมกับการส่งของในครั้งถัดไปเรียกว่า Accumulative Revolving L/C ถ้าไม่อนุญาตให้นำสินค้าส่วนที่เหลือไปรวมกับการส่งสินค้าครั้งถัดไป เรียกว่า Non-
Accumulative Revolving L/C

5. 
Transferable L/C คือ แอลซีที่สามารถโอนต่อให้บุคคลอื่นได้ไม่ว่าบุคคลอื่นนั้นจะอยู่ในประเทศ เดียวกันต่างประเทศก็ได้ และโอนให้บุคคลอื่นเพียงรายเดียวหรือหลายรายก็ได้ แต่จะโอนได้เพียงทอดเดียว ผู้รับประโยชน์ (beneficiary) ที่ได้รับโอนมาจะโอนต่อไปให้บุคคลอื่นอีกทอดหนึ่งไม่ได้ และผู้โอนไม่สามารถเพิ่มเงื่อนไขที่นอกเหนือจากแอลซีที่ได้รับมาจากต่าง ประเทศ ยกเว้นจำนวนเงินหรือราคา ระยะเวลาการส่งมอบสินค้า การส่งเอกสาร การหมดอายุของแอลซี โดยจะเป็นการโอนทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน แต่จำนวนเงินที่โอนต้องไม่เกินไปกว่าที่ระบุในแอลซี

6. 
Back to Back L/C คือ การเปิดแอลซีภายในประเทศ โดยอาศัยหลักประกันแอลซีที่เปิดมาจากต่างประเทศ เพราะ ผู้ขายได้รับแอลซีจากต่างประเทศแต่ไม่มีสินค้าเป็นของตนเอง จึงใช้แอลซีชนิดนี้สั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในประเทศเดียวกัน เพื่อให้ผู้ผลิตส่งสินค้าไปนอกราชอาณาจักรแทน ดังนั้นเงื่อนไขต่างๆในแอลซีฉบับที่สองที่เปิดให้ผู้ผลิตจึงยึดตามแอลซีฉบับ แรก ยกเว้นราคาสินค้าเท่านั้นที่มีราคาต่ำกว่าแอลซีฉบับแรก เมื่อมีการส่งมอบสินค้าผู้ผลิตจะนำเอกสารไปขึ้นเงินที่ธนาคารของผู้ขาย ผู้ขายจะนำเอกสารต่างๆพร้อมตั๋วขึ้นเงินของผู้ขายไปยื่นต่อธนาคาร ธนาคารจะทำการ negotiate L/C ทั้งสองฉบับพร้อมกัน โดยนำเงินที่ได้จากแอลซีฉบับแรกไปชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ผลิตจามแอลซีฉบับ ที่สอง และนำส่วนต่างค่าสินค้าที่ได้เข้าบัญชีของผู้ขาย

7. 
Red Clause L/C คือ แอลซีที่ผู้ซื้อเปิดให้ผู้ขาย โดยอนุญาติให้ผู้ขายรับเงินค่าสินค้าบางส่วนหรือทั้งหมดไปก่อนการส่งสินค้า เมื่อผู้ขายรับเงินค่าสินค้าล่วงหน้าไปแล้ว ธนาคารผู้รับแอลซี (advising bank) จะส่งเอกสารการจ่ายเงินไปเรียกเก็บค่าสินค้าจากผู้ขายในทันที ส่วนเอกสารการส่งออกจะส่งตามไปภายหลังจากที่ผู้ขายได้ส่งออกสินค้าและนำ เอกสารมามอบต่อธนาคารแล้ว แอลซีชนิดนี้ถือเป็นสินเชื่อที่ผู้ซื้อให้แก่ผู้ส่งออก ดังนั้นผู้ซื้อต้องมีความไว้วางใจในผู้ขายเป็นอย่างมาก โดยผู้ขายต้องจ่ายดอกเบี้ยและไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยขึ้นอยู่กัยข้อตกลง

8. 
Stand by L/C คือ แอลซีที่ใช้ในการค้ำประกันค่าสินค้าหรือบริการ ค้ำประกันเงินกู้ ค้ำประกันการออก Letter of Guarantee

9. 
Domestic L/C or Local L/C คือ แอลซีที่ผู้ซื้อสินค้าเปิดให้แก่ผู้ขายที่อยู่ในประเทศเดียวกัน ซึ่งเป็นการซื่อสินค้าภายในประเทศหรือส่งออกไปยังต่างประเทศก็ได้ สกุลเงินที่ใช้เป็นสกุลเงินท้องถิ่น

4.4 
ความน่าเชื่อถือของ Letter of credit
ผู้ขายจะแน่ใจได้อย่างไรว่าแอลซีที่เปิดมาจากผู้ซื้อมีความน่าเชื่อถือเพียง ไร ดังนั้นธนาคารจึงมีส่วนสำคัญในการที่จะเพิ่มคำรับรองว่าจะจ่ายค่าสินค้าให้ แก่ผู้ขาย เมื่อมีการซื้อขายครั้งแรก ผู้ขายอาจร้องขอให้ผู้ซื้อเปิดแอลซีที่เพิ่มคำรับรองว่าจะรับซื้อตั๋วของ ธนาคารผู้รับแอลซี เพื่อเป็นหลักประกันในการที่จะได้รับการชำระค่าสินค้าจากธนาคารผู้รับแอลซี ที่อยู่ในประเทศของผู้ขาย แอลซีที่ใช้ในการชำระค่าสินค้าสามารถจำแนกความน่าเชื่อถือได้ 2 แบบ คือ

1. 
แอลซีที่ไม่มีการเพิ่มคำรับรองว่าจะรับซื้อตั๋ว (Letter of credit without adding confirmation) คือ แอลซีที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีไม่ได้ร้องขอให้ธนาคารตัวแทนผู้รับแอลซีเพิ่มคำ รับรองให้ผู้ขายว่าจะเข้าร่วมผูกพันในการชำระค่าสินค้าร่วมกับธนาคารผู้เปิด แอลซี ดังนั้นธนาคารผู้รับแอลซีจะดำเนินการเพิ่มคำรับรองดังกล่าวโดยพลการให้แก่ ผู้ขายไม่ได้

2. 
แอลซีที่มีการเพิ่มคำรับรองว่าจะรับซื้อตั๋ว (Letter of credit with adding confirmation) คือ แอลซีที่ธนาคารผู้เปิดแอลซีได้ร้องขอให้ธนาคารตัวแทนผู้รับแอลซีเพิ่มคำ รับรองให้ผู้ขายว่าจะเข้าร่วมผูกพันในการชำระค่าสินค้าร่วมกับธนาคารผู้เปิด แอลซี ทำให้ผู้ขายมั่นใจว่าจะได้รับการชำระค่าสินค้าจากธนาคารที่ยืนยันแอลซี ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับธนาคารผู้เปิดแอลซีหรือประเทศของธนาคารผู้เปิดแอล ซีก็ตาม

ข้อความที่พบเสมอในแอลซีที่เพิ่มคำรับรอง คือ This credit is confirmed by us and we undertake that all documents presented in accordance with the terms and conditions of this credit will be honored by us.


ข้อควรรู้

- ธนาคารผู้รับแอลซีจะเพิ่มคำรับรองให้แก่ผู้ขายหรือไม่ก็ได้
- หากธนาคารผู้รับแอลซีไม่เพิ่มคำรับรองให้แก่ผู้ขาย ผู้ขายจะร้องขอให้ธนาคารผู้รับแอลซีจัดหาธนาคารอื่นมาเพิ่มคำรับรองให้ก็ สามารถกระทำได้
- แอลซีที่ได้รับการยืนยันเรียกว่า Confirmed L/C ส่วนธนาคารที่ยืนยันเรียกว่า Confirming Bank
- ค่าใช้จ่ายในการ confirm L/C โดยปรกติจะเป็นของผู้ขาย ซึ่งธนาคารอาจเรียกเก็บในอัตราที่สูงมากขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินของประเทศ และฐานะของธนาคารผู้เปิดแอลซี
- แอลซีที่ได้รับการยืนยันแล้ว หากมีคำขอแก้ไขเพิ่มเติม (amendment) มาจากผู้ซื้อ มิได้หมายความว่าคำขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นจะได้รับการยืนยันด้วย

5.5 
แนวทางปฎิบัติโดยสากลของ Letter of credit (UCP500)UCP500 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับประเพณีและพิธีการที่เกี่ยวกับแอลซีที่มีเอกสาร ประกอบ (The uniforms custom & practice for documentary credits,1993 revision, ICC publication no.500) ที่บัญญติขึ้นโดยสภาหอการค้าระหว่างประเทศ (International Chamber of Commerce) หรือเรียกย่อว่า I.C.C. เป็นบทบัญญัติที่ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะต้องปฎิบัติเป็นมาตรฐานที่เหมือนกัน หมดทั่วโลก และถือเป็นส่วนหนึ่งในสัญญาที่ผู้ซื้อและผู้ขายและธนาคารทุกฝ่ายที่เกี่ยว ข้องจะต้องปฎิบัติตามและมีผลผูกมัดในการซื้อขายที่กระทำโดยแอลซีนั้นๆ

ข้อความที่พบในแอลซีเกี่ยวกับการระบุให้มีผลบังคับใช้ “ประเพณีและพิธีการเกี่ยวกับแอลซีที่มีเอกสารประกอบ” คือ Subject to uniform customs & practice for documentary credit,international chamber of commerce publication no.500 หรือ Subject to UCP500 หรือ Subject to UCP 1993 revision, ICC publication No.500


3. 
การชำระเงินโดยวิธีการเรียกเก็บผ่านธนาคาร (Bill for collection)เป็น การเรียกเก็บเงินค่าสินค้าผ่านธนาคาร โดยยึดถือข้อปฎิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับตั๋วเรียกเก็บฉบับที่ 522 ปี ค.ศ.1955 (URC522) ของสภาหอการค้านานาชาติ แบ่งได้เป็น 2 ชนิดดังนี้

1. 
D/P (Document Against Payment)b> คือ ผู้ขายส่งเอกสารไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าที่ส่งไปให้ผู้ซื้อผ่านธนาคารของ ผู้ขายไปยังธนาคารตัวแทนในประเทศของผู้ซื้อ เพื่อเรียกเก็บค่าสินค้าก่อนการส่งมอบเอกสาร ซึ่งมี 2 แบบ คือ
- D/P sight คือ ผู้ซื้อจะต้องชำระค่าสินค้าก่อนจึงจะรับเอกสารจากธนาคารไปออกของได้
- D/P term คือ ผู้ซื้อต้องชำระค่าสินค้าภายในเวลาที่กำหนดในตั๋วก่อน จึงจะรับเอกสารจากธนาคารไปออกของได้ เช่น 30 วันหรือ 90 วัน

2. D/A (Document Against Acceptance)b> คือ ผู้ขายส่งเอกสารไปให้ผู้ซื้อผ่านธนาคารของผู้ขายไปยังธนาคารตัวแทนในประเทศ ของผู้ซื้อ เพื่อให้ผู้ซื้อนำเอกสารจากธนาคารไปออกของก่อนการชำระเงิน โดยเทอมนี้ต้องกำหนดจำนวนวันจ่ายเงินด้วย เช่น 30 วันหรือ 120 วัน

3. การชำระค่าสินค้าโดยวิธี Open Account
เป็นการที่ผู้ขายและผู้ซื้อตกลงซื้อขายกันโดยตรง โดยผู้ขายจะส่งสินค้าไปให้แก่ผู้ซื้อก่อน เมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าแล้วจึงไปติดต่อธนาคารเพื่อโอนเงินค่าสินค้าให้ผู้ ขายตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น 30 วันหรือ 60 วัน หลังจากที่ได้รับสินค้าหรือเห็นเอกสารตามแต่จะตกลงกัน ซึ่งเป็นการโอนทาง T/T Remittance หรือตั๋วเงิน การวื้อขายด้วยวิธีนี้ผู้ขายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะไม่มีหลักประกันว่าผู้ ซื้อจะชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย ธนาคารเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อมีการโอนเงินเท่านั้น

ขอขอบคุณที่มา: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=import&group=2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น