Bill of Exchange
ตั๋วแลกเงิน Bill of Exchange ตั๋วแลกเงิน หมายถึง หนังสือตราซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้สั่งจ่าย” สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้จ่าย” ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน” ตั๋วแลกเงินจึงเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินนั่นเอง
อนุมาตรา
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน
คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินมีความหมายสำคัญเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรู้เห็นทราบได้ทันทีว่าตราสารนั้นเป็นตราสารพิเศษ และเนื่องจากเมื่อตราประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้น ตั๋วเงินเป็นของใหม่ไม่สู้แพร่หลาย จึงต้องบัญญัติให้ระบุลงไปในตั๋วให้ชัดแจ้งว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ประกอบกับ Uniform Law (1930) ซึ่งเราอาศัยเป็นหลักในการร่างกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน
สำหรับตั๋วแลกเงินมาจากต่างประเทศ อาจไม่มีคำว่า ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เพราะบางประเทศ กฎหมายของเขาไม่บังคับให้ต้องระบุดังในมาตรา 909 (1) อย่างไรก็ดี คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินไม่จำเป็นต้องเขียนที่หัวกระดาษ อาจเป็นข้อความในตั๋วเงินว่า first of exchange ก็ได้
อนุมาตรา
(2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน
รายการนี้เป็นข้อบังคับเด็ดขาด ถ้าขาดไปจะไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910) ตามรูปตัวอย่างตั๋วแลกเงินคือ “โปรดจ่ายเงินจำนวนหนึ่งหมื่นบาท” ถ้าไม่กรอกจำนวนเงินเสียเลยหรือกรอกจำนวนเงินมิได้เป็นไปตามที่ผู้สั่งจ่ายขอร้อง ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ อธิบายแยกได้เป็น 3 หัวข้อ คือ
ก. คำสั่ง หมายความว่า เป็นคำบงการหรือคำบอก เพื่อให้ทำหรือให้ปฏิบัติโดยไม่ให้โอกาสเลือกทำหรือเลือกปฏิบัติของผู้รับคำสั่งและมิใช่เพียงแต่คำขอร้องหรือคำอ้อนวอนที่ผู้รับคำขอร้องหรือคำอ้อนวอนจะทำตามหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ดี “คำสั่ง” ก็ไม่จำต้องเขียนลงไปในตัวแลกเงินตรงๆ ว่า “ข้าพเจ้ามีคำสั่งให้จ่ายเงิน” เพราะอาจใช้ถ้อยคำสุภาพลงไปในคำสั่งนั้นได้ เช่น “โปรดจ่ายเงิน” ซึ่งจะไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินฉบับนั้นเสียไปเพราะมีความหมายเป็นข้อความกำหนดให้จ่ายเงินโดยผู้จ่ายไม่มีโอกาสเลือกจ่ายหรือไม่จ่ายตามอัธยาศัยของผู้จ่ายเช่นเดียวกัน
ข. อันปราศจากเงื่อนไข หมายความว่า ลักษณะสำคัญที่สุดของตั๋วแลกเงิน คือ ความแน่นอนที่ตั๋วแลกเงินจะต้องได้รับการจ่ายเงินตามตั๋วนั้น จะมีเงื่อนไขในการคำสั่งให้จ่ายเงิน ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมเกิดความไม่แน่นอนขึ้น คำว่าเงื่อนไข หมายความว่า เหตุการณ์อันใดอันหนึ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน (เทียบมาตรา 182 เติมมาตรา 144) จึงต่างกับเงื่อนเวลา ซึ่งจะต้องมาถึงในอนาคตอย่างแน่นอน ดั้งนั้น ข้อความในคำสั่งให้จ่ายเงินจะเป็นเงื่อนไขหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความแน่นอนหรือไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งนั่นเอง
ค. ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน หมายความว่า คำสั่งในตั๋วแลกเงินต้องเป็นคำสั่งจ่ายเงินถ้าเป็นคำสั่งให้กระทำการอย่างอื่นนอกจากเงินแล้วจะไม่ใช่ตั๋วแลกเงิน แต่ถ้ามีคำสั่งว่าให้จ่ายเงินและสิ่งของอื่นควบไปด้วย คงมีผลเฉพาะคำสั่งให้จ่ายเงินเท่านั้น ส่วนคำสั่งที่ให้จ่ายสินค้าที่ระบุไว้ ย่อมไม่มีผลแก่ตั๋วแลกเงิน (มาตรา 899) และถ้ามีคำสั่งให้ผู้รับตั๋วแลกเงินเลือกเอาว่าจะรับเงินหรือรับสิ่งของอื่นแทน ดังนี้น่าจะทำไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน คำว่า “เงิน” หมายถึง เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติเงินตรา ตั๋วแลกเงินโดยมากใช้ในระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงสั่งจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศก็ได้ (มาตรา 196) คำว่า “เงินจำนวนแน่นอน” หมายความว่า ต้องเป็นเงินจำนวนที่เที่ยงแท้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปทางเพิ่มหรือทางลดลงได้
อนุมาตรา
(3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย
รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องให้ถือว่าไม่เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910)
ผู้จ่าย คือ ผู้รับคำสั่งให้ใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน จึงจำเป็นที่ผู้สั่งจ่ายต้องระบุชื่อผู้จ่ายไว้ในตั๋วแลกเงิน ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ และอาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกันจ่ายเงินก็ได้ เว้นแต่คำสั่งให้บุคคลหลายคนจ่ายเงินเรียงตามลำดับก่อนหลังโดยไม่ระบุให้รับผิดร่วมกัน หรือคำสั่งให้เลือกผู้จ่ายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใดในหลายคนที่ระบุโดยไม่ระบุให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันจ่ายเงิน ย่อมทำให้ไม่ทราบตัวผู้จ่ายที่แน่นอนทำให้ตั๋วแลกเงินนั้นเสียไป
การระบุชื่อจ่าย อาจระบุเพียงตำบลที่อยู่ซึ่งเข้าใจกันก็ได้ การระบุชื่อผู้จ่ายที่ไม่มีตัวตนหรือสมมติขึ้น ก็ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป เพราะมีรายการชื่อผู้จ่ายแล้ว และตั๋วแลกเงินไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ส่วนยี่ห้อเป็นชื่อที่บุคคลใช้ในการค้า ไม่เป็นนิติบุคคล การระบุยี่ห้อเป็นผู้จ่ายต้องเข้าใจว่าหมายถึงบุคคลใด ถ้าไม่อาจทราบได้ ก็เท่ากับไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายตามที่ มาตรา 912 วรรคสอง บัญญัติว่า “ตั๋วแลกเงินจะสั่งจ่ายเอาจากตัวผู้สั่งจ่ายเองก็ได้”
อนุมาตรา
(4) วันถึงกำหนดใช้เงิน
วันถึงกำหนดใช้เงิน ย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ
1. ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้
2. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น
3. เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น
4. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น
รายการนี้ถ้าไม่ระบุไว้ ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป แต่กฎหมายให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น (มาตรา 910 วรรคสอง)
อนุมาตรา
(5) สถานที่ใช้เงิน
สถานที่ใช้เงินนั้น ตามความคิดธรรมดาที่ระบุไว้ก็เพื่อผู้ทรงจะได้รู้ตำแหน่งแห่งที่ในการที่จะเอาตั๋วไปขึ้นเงิน แต่ในกฎหมายตั๋วเงินนั้น ผู้จ่ายยังมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาในตั๋วแลกเงิน สถานที่ใช้เงินจึงมีความสำคัญที่ผู้ทรงจะยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้ผู้จ่ายรับรองหรือเพื่อเรียกร้องให้ผู้จ่ายใช้เงิน ณ ที่ใดตามที่กำหนดไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ถ้าไม่มีสถานที่ใช้เงินตามที่ระบุผู้ทรงต้องทำการคัดค้านไว้ (ม. 962) จึงจะไม่เสียสิทธิไล่เบี้ย (ม. 973) กรณีที่ไม่ได้แถลงไว้ในตั๋วแลกเงิน มาตรา 910 วรรคสาม “ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาผู้จ่ายเป็นสถานที่ใช้เงิน”
อนุมาตรา
(6) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องไปย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน ความสำคัญของชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินคือ ทำให้ผู้จ่ายทราบว่าจะจ่ายเงินให้แก่ใคร จะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ จะเป็นชื่อจริงหรือชื่อสมมุติ หรือตำแหน่งก็ได้ (ถ้าเป็นชื่อสมมุติและไม่มีตัวจริง กฎหมายอังกฤษให้จ่ายแก่ผู้ถือ แต่ของไทยไม่ได้ใช้อย่างนั้น)
อนุมาตรา
(7) วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน
ก. วันออกตั๋วเงิน หมายความถึงวันที่ระบุในตั๋วเงินนั้นได้ออกเมื่อใด ซึ่งกฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องใช้ “ตามวันแห่งปฏิทิน” ดังนั้นอาจระบุอย่างอื่นได้ เช่น วันเข้าพรรษา ปี 2537 หรือ วันเฉลิมพระชนมพรรษา ปี 2538 เป็นต้น ความสำคัญ คือ
1) แสดงให้รู้กำหนดอายุของตั๋วเงิน ตามชนิดต่าง ๆ เช่น ชนิดใช้เงินเมื่อเห็น หรือ เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็นว่า ผู้ทรงต้องนำตั๋วยื่นให้ผู้จ่ายใช้เงินหรือรับรองภายในกำหนด
2) ตั๋วเงินชนิดที่ให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น วันออกตั๋วเงินมีความสำคัญที่จะต้องระบุไว้ในตั๋วนั้น
3) ต้องใช้ในการคำนวณดอกเบี้ย
- บุคคลที่จะลงวันออกตั๋วเงิน มีได้ 2 คน คือ (1) ผู้สั่งจ่าย (2) ผู้ทรง
1) กรณีผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ลงวันออกตั๋วเงิน : ผู้สั่งจ่ายสามารถตั้งใจลงวันให้ผิดความจริงได้ คือ ลงวันย้อนต้น ลงวันถัดไป หรือ ลงวันล่วงหน้า ก็ได้
2) กรณีผู้ทรงเป็นผู้ลงวันออกตั๋วเงิน : ม. 910 วรรคห้า “ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้” และ มาตรา 932 วรรคแรก “ตั๋วแลกเงินฉบับใดเขียนสั่งให้ใช้เงินในกำหนดระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น แต่หากมิได้ลงวันไว้ ฯลฯ ท่านว่าผู้ทรงจะจดวันออกตั๋ว ฯลฯ ลงตามที่แท้จริงก็ได้ แล้วพึงให้ใช้เงินตามนั้น” หมายความว่า ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายมิได้ลงวันออกตั๋วเงินไว้เลย ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือผู้ทำการแทนผู้ทรงโดยชอบย่อมมีสิทธิที่จะจดวันออกตั๋วได้ แต่ต้องเป็นการจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงและการจดวันนั้นต้องจดโดยสุจริต คือ จดตามวันที่ผู้ทรงเชื่อหรือเข้าใจว่าเป็นวันที่ถูกต้องนั่นเอง
ถ้าผู้ทรงจดวันลงไปไม่ตรงตามที่เป็นจริง ที่เรียกว่า ลงวันคลาดเคลื่อนหรือลงวันผิดนั้น ไม่ว่าผู้ทรงจะสุจริตหรือไม่สุจริตก็ตาม ถ้าตั๋วเงินนั้นโอนต่อไปยังผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนถัดไปแล้ว ก็ต้องบังคับตาม ม. 932 วรรคสอง “อนึ่ง ท่านบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ผู้ทรงทำการโดยสุจริตแต่ลงวันคลาดเคลื่อนไปด้วยสำคัญผิดและในกรณีลงวันผิดทุกสถาน หากว่าในภายหลังตั๋วเงินนั้นตกไปยังมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ท่านให้คงเป็นตั๋วเงินที่ใช้ได้และพึงใช้เงินกันเหมือนดั่งว่าวันที่ได้จดลงนั้นเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริง” ที่กล่าวมาในข้อ 2 นี้เป็นกรณีที่ผู้สั่งจ่ายไม่ได้ลงวันออกตั๋วไว้เลย
ข. สถานที่ออกตั๋วเงิน รายการนี้ไม่บังคับเด็ดขาด ม. 910 วรรคสี่ “ถ้าตั๋วแลกเงินไม่แสดงให้ปรากฏสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วเงินนั้นได้ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้สั่งจ่าย”
ความสำคัญคือ เพื่อให้รู้ว่าเป็นตั๋วเงินภายในประเทศหรือตั๋วเงินออกมาแต่ต่างประเทศ และให้รู้ที่อยู่ผู้สั่งจ่ายในกรณีตั๋วเงินขาดความเชื่อถือโดยผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่ยอมใช้เงิน ผู้ทรงจะได้หาตัวผู้สั่งจ่ายพบ หรือจะได้ส่งคำบอกกล่าวได้ (ม. 963)
อนุมาตรา
(8) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
รายการนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (ม. 910)
ม. 9 “เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือบุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น”
ม. 900 วรรคสอง “ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แกงได หรือลายพิมพ์นิ้วมือ อ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ ถึงแม้ว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่”
9.1.2 วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน
วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน คือ วันถึงกำหนดใช้เงิน
ม. 913 “อันวันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้นท่านว่าย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ หรือ
(2) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น หรือ
(3) เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น หรือ
(4) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น”แบ่งเป็น 2 ชนิด
ก. ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (ตาม ม. 913 (3))
- ตั๋วที่ให้ใช้เงินเมื่อเห็น นั้นผู้ทรงต้องยื่นให้ใช้เงินภายในหกเดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ม. 944, 928
- ตั๋วที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม นั้น ผู้ทรงยื่นตั๋วทวงถามให้ใช้เงินเมื่อใดผู้จ่ายต้องใช้เงินทันที ผู้ทรงเก็บตั๋วไว้ได้นาน อาจจะเป็นสิบปี ตามใดที่ไม่ทวงถาม กำหนดอายุความยังไม่มี อายุความยังไม่เริ่มนับตาม ม. 1001, 1002 นัย ฎ. 404/2515 เว้นแต่เช็ค ม. 990 “ผู้ทรงต้องยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่นภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายในสามเดือน ถ้ามิฉะนั้น ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วย เพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น”
ข. ตั๋วแลกเงินที่มีกำหนดเวลาให้ใช้เงิน (ตาม ม. 913 (1) (2) (4))แบ่งเป็น 3 ชนิด
(1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ (ตาม ม. 913 (1)) : ปกติจะกำหนดตามวันแห่งปฏิทิน แต่กฎหมายไม่ได้กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่า “ตามวันแห่งปฏิทิน” จึงอาจกำหนดเป็นวันอื่นที่แน่นอนได้
(2) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ตาม ม. 913 (2)
(3) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น ตาม ม. 913 (4) : ผู้ทรงต้องยื่นตั๋วให้เห็นก่อนจึงจะเริ่มนับวัน ตัวอย่างของตั๋วแลกเงิน
mind mapBill of Exchange
ที่มาhttp://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/ บริการเรียกเก็บเงินตามเอกสารสินค้าออกภายใต้เลตเตอร์ออฟเครดิต (Export Collection under L/C)
ตั๋วแลกเงิน
Bill of Exchange
ตั๋วแลกเงิน หมายถึง หนังสือตราซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้สั่งจ่าย” สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้จ่าย” ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับเงิน” ตั๋วแลกเงินจึงเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินนั่นเอง อนุมาตรา
(1) คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน
คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินมีความหมายสำคัญเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องรู้เห็นทราบได้ทันทีว่าตราสารนั้นเป็นตราสารพิเศษ และเนื่องจากเมื่อตราประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้น ตั๋วเงินเป็นของใหม่ไม่สู้แพร่หลาย จึงต้องบัญญัติให้ระบุลงไปในตั๋วให้ชัดแจ้งว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ประกอบกับ Uniform Law (1930) ซึ่งเราอาศัยเป็นหลักในการร่างกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน
สำหรับตั๋วแลกเงินมาจากต่างประเทศ อาจไม่มีคำว่า ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เพราะบางประเทศ กฎหมายของเขาไม่บังคับให้ต้องระบุดังในมาตรา 909 (1) อย่างไรก็ดี คำบอกชื่อว่าตั๋วแลกเงินไม่จำเป็นต้องเขียนที่หัวกระดาษ อาจเป็นข้อความในตั๋วเงินว่า first of exchange ก็ได้
อนุมาตรา
(2) คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน
รายการนี้เป็นข้อบังคับเด็ดขาด ถ้าขาดไปจะไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910) ตามรูปตัวอย่างตั๋วแลกเงินคือ “โปรดจ่ายเงินจำนวนหนึ่งหมื่นบาท” ถ้าไม่กรอกจำนวนเงินเสียเลยหรือกรอกจำนวนเงินมิได้เป็นไปตามที่ผู้สั่งจ่ายขอร้อง ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ อธิบายแยกได้เป็น 3 หัวข้อ คือ
ก. คำสั่ง หมายความว่า เป็นคำบงการหรือคำบอก เพื่อให้ทำหรือให้ปฏิบัติโดยไม่ให้โอกาสเลือกทำหรือเลือกปฏิบัติของผู้รับคำสั่งและมิใช่เพียงแต่คำขอร้องหรือคำอ้อนวอนที่ผู้รับคำขอร้องหรือคำอ้อนวอนจะทำตามหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ดี “คำสั่ง” ก็ไม่จำต้องเขียนลงไปในตัวแลกเงินตรงๆ ว่า “ข้าพเจ้ามีคำสั่งให้จ่ายเงิน” เพราะอาจใช้ถ้อยคำสุภาพลงไปในคำสั่งนั้นได้ เช่น “โปรดจ่ายเงิน” ซึ่งจะไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินฉบับนั้นเสียไปเพราะมีความหมายเป็นข้อความกำหนดให้จ่ายเงินโดยผู้จ่ายไม่มีโอกาสเลือกจ่ายหรือไม่จ่ายตามอัธยาศัยของผู้จ่ายเช่นเดียวกัน
ข. อันปราศจากเงื่อนไข หมายความว่า ลักษณะสำคัญที่สุดของตั๋วแลกเงิน คือ ความแน่นอนที่ตั๋วแลกเงินจะต้องได้รับการจ่ายเงินตามตั๋วนั้น จะมีเงื่อนไขในการคำสั่งให้จ่ายเงิน ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมเกิดความไม่แน่นอนขึ้น คำว่าเงื่อนไข หมายความว่า เหตุการณ์อันใดอันหนึ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน (เทียบมาตรา 182 เติมมาตรา 144) จึงต่างกับเงื่อนเวลา ซึ่งจะต้องมาถึงในอนาคตอย่างแน่นอน ดั้งนั้น ข้อความในคำสั่งให้จ่ายเงินจะเป็นเงื่อนไขหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงความแน่นอนหรือไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งนั่นเอง
ค. ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่นอน หมายความว่า คำสั่งในตั๋วแลกเงินต้องเป็นคำสั่งจ่ายเงินถ้าเป็นคำสั่งให้กระทำการอย่างอื่นนอกจากเงินแล้วจะไม่ใช่ตั๋วแลกเงิน แต่ถ้ามีคำสั่งว่าให้จ่ายเงินและสิ่งของอื่นควบไปด้วย คงมีผลเฉพาะคำสั่งให้จ่ายเงินเท่านั้น ส่วนคำสั่งที่ให้จ่ายสินค้าที่ระบุไว้ ย่อมไม่มีผลแก่ตั๋วแลกเงิน (มาตรา 899) และถ้ามีคำสั่งให้ผู้รับตั๋วแลกเงินเลือกเอาว่าจะรับเงินหรือรับสิ่งของอื่นแทน ดังนี้น่าจะทำไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน คำว่า “เงิน” หมายถึง เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติเงินตรา ตั๋วแลกเงินโดยมากใช้ในระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงสั่งจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศก็ได้ (มาตรา 196) คำว่า “เงินจำนวนแน่นอน” หมายความว่า ต้องเป็นเงินจำนวนที่เที่ยงแท้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปทางเพิ่มหรือทางลดลงได้
อนุมาตรา
(3) ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย
รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องให้ถือว่าไม่เป็นตั๋วแลกเงิน (มาตรา 910)
ผู้จ่าย คือ ผู้รับคำสั่งให้ใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน จึงจำเป็นที่ผู้สั่งจ่ายต้องระบุชื่อผู้จ่ายไว้ในตั๋วแลกเงิน ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ และอาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกันจ่ายเงินก็ได้ เว้นแต่คำสั่งให้บุคคลหลายคนจ่ายเงินเรียงตามลำดับก่อนหลังโดยไม่ระบุให้รับผิดร่วมกัน หรือคำสั่งให้เลือกผู้จ่ายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใดในหลายคนที่ระบุโดยไม่ระบุให้บุคคลเหล่านั้นต้องรับผิดร่วมกันจ่ายเงิน ย่อมทำให้ไม่ทราบตัวผู้จ่ายที่แน่นอนทำให้ตั๋วแลกเงินนั้นเสียไป
การระบุชื่อจ่าย อาจระบุเพียงตำบลที่อยู่ซึ่งเข้าใจกันก็ได้ การระบุชื่อผู้จ่ายที่ไม่มีตัวตนหรือสมมติขึ้น ก็ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป เพราะมีรายการชื่อผู้จ่ายแล้ว และตั๋วแลกเงินไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ส่วนยี่ห้อเป็นชื่อที่บุคคลใช้ในการค้า ไม่เป็นนิติบุคคล การระบุยี่ห้อเป็นผู้จ่ายต้องเข้าใจว่าหมายถึงบุคคลใด ถ้าไม่อาจทราบได้ ก็เท่ากับไม่มีตัวผู้จ่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรง ผู้จ่ายอาจเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายตามที่ มาตรา 912 วรรคสอง บัญญัติว่า “ตั๋วแลกเงินจะสั่งจ่ายเอาจากตัวผู้สั่งจ่ายเองก็ได้”
อนุมาตรา
(4) วันถึงกำหนดใช้เงิน
วันถึงกำหนดใช้เงิน ย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ
1. ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้
2. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น
3. เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น
4. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น
รายการนี้ถ้าไม่ระบุไว้ ไม่ทำให้ตั๋วแลกเงินเสียไป แต่กฎหมายให้ถือว่าพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น (มาตรา 910 วรรคสอง)
อนุมาตรา
(5) สถานที่ใช้เงิน
สถานที่ใช้เงินนั้น ตามความคิดธรรมดาที่ระบุไว้ก็เพื่อผู้ทรงจะได้รู้ตำแหน่งแห่งที่ในการที่จะเอาตั๋วไปขึ้นเงิน แต่ในกฎหมายตั๋วเงินนั้น ผู้จ่ายยังมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาในตั๋วแลกเงิน สถานที่ใช้เงินจึงมีความสำคัญที่ผู้ทรงจะยื่นตั๋วแลกเงินเพื่อให้ผู้จ่ายรับรองหรือเพื่อเรียกร้องให้ผู้จ่ายใช้เงิน ณ ที่ใดตามที่กำหนดไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ถ้าไม่มีสถานที่ใช้เงินตามที่ระบุผู้ทรงต้องทำการคัดค้านไว้ (ม. 962) จึงจะไม่เสียสิทธิไล่เบี้ย (ม. 973) กรณีที่ไม่ได้แถลงไว้ในตั๋วแลกเงิน มาตรา 910 วรรคสาม “ท่านให้ถือเอาภูมิลำเนาผู้จ่ายเป็นสถานที่ใช้เงิน”
อนุมาตรา
(6) ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินหรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
รายการข้อนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดตกบกพร่องไปย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน ความสำคัญของชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินคือ ทำให้ผู้จ่ายทราบว่าจะจ่ายเงินให้แก่ใคร จะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ จะเป็นชื่อจริงหรือชื่อสมมุติ หรือตำแหน่งก็ได้ (ถ้าเป็นชื่อสมมุติและไม่มีตัวจริง กฎหมายอังกฤษให้จ่ายแก่ผู้ถือ แต่ของไทยไม่ได้ใช้อย่างนั้น)
อนุมาตรา
(7) วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน
ก. วันออกตั๋วเงิน หมายความถึงวันที่ระบุในตั๋วเงินนั้นได้ออกเมื่อใด ซึ่งกฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องใช้ “ตามวันแห่งปฏิทิน” ดังนั้นอาจระบุอย่างอื่นได้ เช่น วันเข้าพรรษา ปี 2537 หรือ วันเฉลิมพระชนมพรรษา ปี 2538 เป็นต้น ความสำคัญ คือ
1) แสดงให้รู้กำหนดอายุของตั๋วเงิน ตามชนิดต่าง ๆ เช่น ชนิดใช้เงินเมื่อเห็น หรือ เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็นว่า ผู้ทรงต้องนำตั๋วยื่นให้ผู้จ่ายใช้เงินหรือรับรองภายในกำหนด
2) ตั๋วเงินชนิดที่ให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น วันออกตั๋วเงินมีความสำคัญที่จะต้องระบุไว้ในตั๋วนั้น
3) ต้องใช้ในการคำนวณดอกเบี้ย
- บุคคลที่จะลงวันออกตั๋วเงิน มีได้ 2 คน คือ (1) ผู้สั่งจ่าย (2) ผู้ทรง
1) กรณีผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ลงวันออกตั๋วเงิน : ผู้สั่งจ่ายสามารถตั้งใจลงวันให้ผิดความจริงได้ คือ ลงวันย้อนต้น ลงวันถัดไป หรือ ลงวันล่วงหน้า ก็ได้
2) กรณีผู้ทรงเป็นผู้ลงวันออกตั๋วเงิน : ม. 910 วรรคห้า “ถ้ามิได้ลงวันออกตั๋ว ท่านว่าผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดทำการโดยสุจริตจะจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้” และ มาตรา 932 วรรคแรก “ตั๋วแลกเงินฉบับใดเขียนสั่งให้ใช้เงินในกำหนดระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินนั้น แต่หากมิได้ลงวันไว้ ฯลฯ ท่านว่าผู้ทรงจะจดวันออกตั๋ว ฯลฯ ลงตามที่แท้จริงก็ได้ แล้วพึงให้ใช้เงินตามนั้น” หมายความว่า ในกรณีที่ผู้สั่งจ่ายมิได้ลงวันออกตั๋วเงินไว้เลย ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายหรือผู้ทำการแทนผู้ทรงโดยชอบย่อมมีสิทธิที่จะจดวันออกตั๋วได้ แต่ต้องเป็นการจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงและการจดวันนั้นต้องจดโดยสุจริต คือ จดตามวันที่ผู้ทรงเชื่อหรือเข้าใจว่าเป็นวันที่ถูกต้องนั่นเอง
ถ้าผู้ทรงจดวันลงไปไม่ตรงตามที่เป็นจริง ที่เรียกว่า ลงวันคลาดเคลื่อนหรือลงวันผิดนั้น ไม่ว่าผู้ทรงจะสุจริตหรือไม่สุจริตก็ตาม ถ้าตั๋วเงินนั้นโอนต่อไปยังผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนถัดไปแล้ว ก็ต้องบังคับตาม ม. 932 วรรคสอง “อนึ่ง ท่านบัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ผู้ทรงทำการโดยสุจริตแต่ลงวันคลาดเคลื่อนไปด้วยสำคัญผิดและในกรณีลงวันผิดทุกสถาน หากว่าในภายหลังตั๋วเงินนั้นตกไปยังมือผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ท่านให้คงเป็นตั๋วเงินที่ใช้ได้และพึงใช้เงินกันเหมือนดั่งว่าวันที่ได้จดลงนั้นเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริง” ที่กล่าวมาในข้อ 2 นี้เป็นกรณีที่ผู้สั่งจ่ายไม่ได้ลงวันออกตั๋วไว้เลย
ข. สถานที่ออกตั๋วเงิน รายการนี้ไม่บังคับเด็ดขาด ม. 910 วรรคสี่ “ถ้าตั๋วแลกเงินไม่แสดงให้ปรากฏสถานที่ออกตั๋ว ท่านให้ถือว่าตั๋วเงินนั้นได้ออก ณ ภูมิลำเนาของผู้สั่งจ่าย”
ความสำคัญคือ เพื่อให้รู้ว่าเป็นตั๋วเงินภายในประเทศหรือตั๋วเงินออกมาแต่ต่างประเทศ และให้รู้ที่อยู่ผู้สั่งจ่ายในกรณีตั๋วเงินขาดความเชื่อถือโดยผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่ยอมใช้เงิน ผู้ทรงจะได้หาตัวผู้สั่งจ่ายพบ หรือจะได้ส่งคำบอกกล่าวได้ (ม. 963)
อนุมาตรา
(8) ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
รายการนี้บังคับเด็ดขาด ถ้าขาดย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน (ม. 910)
ม. 9 “เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือบุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น”
ม. 900 วรรคสอง “ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แกงได หรือลายพิมพ์นิ้วมือ อ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ ถึงแม้ว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินไม่”
9.1.2 วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน
วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน คือ วันถึงกำหนดใช้เงิน
ม. 913 “อันวันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงินนั้นท่านว่าย่อมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ หรือ
(2) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น หรือ
(3) เมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น หรือ
(4) เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น”แบ่งเป็น 2 ชนิด
ก. ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น (ตาม ม. 913 (3))
- ตั๋วที่ให้ใช้เงินเมื่อเห็น นั้นผู้ทรงต้องยื่นให้ใช้เงินภายในหกเดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ม. 944, 928
- ตั๋วที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม นั้น ผู้ทรงยื่นตั๋วทวงถามให้ใช้เงินเมื่อใดผู้จ่ายต้องใช้เงินทันที ผู้ทรงเก็บตั๋วไว้ได้นาน อาจจะเป็นสิบปี ตามใดที่ไม่ทวงถาม กำหนดอายุความยังไม่มี อายุความยังไม่เริ่มนับตาม ม. 1001, 1002 นัย ฎ. 404/2515 เว้นแต่เช็ค ม. 990 “ผู้ทรงต้องยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงิน คือว่าถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คต้องยื่นภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันออกเช็คนั้น ถ้าเป็นเช็คให้ใช้เงินที่อื่นต้องยื่นภายในสามเดือน ถ้ามิฉะนั้น ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วย เพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช็คนั้น”
ข. ตั๋วแลกเงินที่มีกำหนดเวลาให้ใช้เงิน (ตาม ม. 913 (1) (2) (4))แบ่งเป็น 3 ชนิด
(1) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ (ตาม ม. 913 (1)) : ปกติจะกำหนดตามวันแห่งปฏิทิน แต่กฎหมายไม่ได้กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่า “ตามวันแห่งปฏิทิน” จึงอาจกำหนดเป็นวันอื่นที่แน่นอนได้
(2) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ตาม ม. 913 (2)
(3) ตั๋วแลกเงินที่สั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น ตาม ม. 913 (4) : ผู้ทรงต้องยื่นตั๋วให้เห็นก่อนจึงจะเริ่มนับวัน ตัวอย่างของตั๋วแลกเงิน
mind mapBill of Exchange
ที่มาhttp://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/
ผู้ส่งออกที่ต้องการเพิ่มความมั่นใจในการได้รับชำระเงินจากคู่ค้าภายใต้การค้าขายผ่านเลตเตอร์
ออฟเครดิต ซึ่งเน้นความครบถ้วน ถูกต้องของเอกสารการส่งออกเป็นสำคัญ ธนาคารกสิกรไทยพร้อมตอบสนองความต้องการของคุณ ด้วยบริการเรียกเก็บเงินตามเอกสารสินค้าออกภายใต้
เลตเตอร์ออฟเครดิต ด้วยพนักงานตรวจเอกสารทุกคนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร UpSkill UCP600 ซึ่งเป็นหลักสูตรของสภาหอการค้านานาชาติ และผู้เชี่ยวชาญในการตรวจเอกสารภายใต้
เลตเตอร์ออฟเครดิตระดับนานาชาติของพนักงานกสิกรไทย (Certified Documentary Credit Specialists - CDCS) ที่ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารก่อนส่งไปเรียกเก็บเงิน พร้อมทั้งติดตามการชำระเงินจากธนาคารผู้เปิด L/C ทำให้คุณมั่นใจในการได้รับเงินตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อธุรกิจไร้ขีดจำกัด
ออฟเครดิต ซึ่งเน้นความครบถ้วน ถูกต้องของเอกสารการส่งออกเป็นสำคัญ ธนาคารกสิกรไทยพร้อมตอบสนองความต้องการของคุณ ด้วยบริการเรียกเก็บเงินตามเอกสารสินค้าออกภายใต้
เลตเตอร์ออฟเครดิต ด้วยพนักงานตรวจเอกสารทุกคนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร UpSkill UCP600 ซึ่งเป็นหลักสูตรของสภาหอการค้านานาชาติ และผู้เชี่ยวชาญในการตรวจเอกสารภายใต้
เลตเตอร์ออฟเครดิตระดับนานาชาติของพนักงานกสิกรไทย (Certified Documentary Credit Specialists - CDCS) ที่ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารก่อนส่งไปเรียกเก็บเงิน พร้อมทั้งติดตามการชำระเงินจากธนาคารผู้เปิด L/C ทำให้คุณมั่นใจในการได้รับเงินตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อธุรกิจไร้ขีดจำกัด
จุดเด่น
- เพิ่มความมั่นใจในการได้รับชำระเงินค่าสินค้า เนื่องจากธนาคารจะช่วยตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและแจ้งข้อผิดพลาดในเอกสารให้ผู้รับประโยชน์ทราบ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องก่อนส่งไปเรียกเก็บเงิน ซึ่งเอกสารเหล่านี้จะตรวจโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของธนาคาร ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร UpSkill UCP600/ DC Mentor 600 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่รับรองโดยสภาหอการค้านานาชาติ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าเอกสารจะเป็นไปตามเงื่อนไข ข้อกำหนดใน L/C และตามกฎข้อบังคับของสภาหอการค้านานาชาติ และ ติดตามผลการชำระเงินจากธนาคารผู้เปิด L/C เพื่อให้ผู้รับประโยชน์ได้รับการชำระตามเวลาที่สมควร
- รับประกันส่งเอกสารสินค้าออกภายใต้ L/C ไปยังธนาคารผู้เปิด L/C ภายในวันทำการเดียวกัน หากยื่นเอกสารที่ครบถ้วน ถูกต้องตรงตามเงื่อนไข L/C ก่อน 14.00 น.
- บริการรายงานเอกสารที่ส่งไปเรียกเก็บพร้อมหมายเลขนำส่งเอกสารทุกชุดทางอีเมล ทำให้คุณสามารถแจ้งสถานะเอกสารให้คู่ค้าทราบได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าโทรศัพท์ทางไกลได้มาก
- บริการพิเศษ Extra Hour โดยคุณสามารถยื่นเอกสารนอกเวลาทำการธนาคาร รวมถึง วันเสาร์-อาทิตย์ ผ่านจุดรับเอกสาร DHL ที่กระจายอยู่ตามย่านธุรกิจในกรุงเทพฯ เช่น สีลม สุขุมวิท ทำให้คุณคลายความกังวลในการส่งมอบเอกสารไม่ทันได้
รายละเอียด
ประเภทของบริการ
เป็นบริการที่ธนาคารทำหน้าที่เป็นธนาคารผู้ได้รับการแต่งตั้ง (Nominated Bank) จากธนาคารผู้เปิด L/C หรือ เป็นตัวแทนของผู้รับประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการจากธนาคารผู้เปิด L/C ในต่างประเทศซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ซื้อตาม L/C โดยส่งเอกสารตาม L/C ที่ผู้รับประโยชน์ตาม L/C (Beneficiary) ยื่นต่อธนาคารเพื่อให้เรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้เปิด L/C ซึ่งธนาคารจะช่วยตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์และความถูกต้องของเอกสารก่อนส่งไปเรียกเก็บเงินให้
เอกสารประกอบการสมัคร
1. ใบคำขอรับซื้อ/ซื้อลดตามเอกสารสินค้าออกที่มีเลตเตอร์ออฟเครดิตกำกับ (APPLICATION FOR NEGOTIATION/DISCOUNT OF EXPORT BILLS DRAWN UNDER LETTER OF CREDIT)
2. ต้นฉบับเลตเตอร์ออฟเครดิต
3. เอกสารอื่นๆ ตามที่เรียกขอในเลตเตอร์ออฟเครดิต
2. ต้นฉบับเลตเตอร์ออฟเครดิต
3. เอกสารอื่นๆ ตามที่เรียกขอในเลตเตอร์ออฟเครดิต
เงื่อนไขการใช้บริการ
ลูกค้ามีเอกสารสินค้าออกและ L/C โดยยื่นผ่านธนาคารกสิกรไทย
Procedure of Export Collection under L/C ขั้นตอนบริการเรียกเก็บเงินตามเอกสารสินค้าออกภายใต้ L/C1. ธนาคารตรวจรับเอกสารสินค้าออกตาม L/C ที่ผู้ส่งออกยื่น พร้อมตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของเอกสาร
2. ธนาคารส่งเอกสารไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้เปิด L/C พร้อมติดตามผลการชำระเงินหรือข่าวสารจากธนาคาร
ผู้เรียกเก็บ
3. กรณีได้รับชำระเงินจะชำระเงินให้กับผู้ส่งออก
4. กรณีไม่ได้รับชำระภายในเวลาสมควร ธนาคารจะติดตามจนได้ข้อสรุป
Procedure of Export Collection under L/C ขั้นตอนบริการเรียกเก็บเงินตามเอกสารสินค้าออกภายใต้ L/C1. ธนาคารตรวจรับเอกสารสินค้าออกตาม L/C ที่ผู้ส่งออกยื่น พร้อมตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของเอกสาร
2. ธนาคารส่งเอกสารไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้เปิด L/C พร้อมติดตามผลการชำระเงินหรือข่าวสารจากธนาคาร
ผู้เรียกเก็บ
3. กรณีได้รับชำระเงินจะชำระเงินให้กับผู้ส่งออก
4. กรณีไม่ได้รับชำระภายในเวลาสมควร ธนาคารจะติดตามจนได้ข้อสรุป
อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมสำหรับบริการเรียกเก็บเงินตามเอกสารสินค้าออกภายใต้เลตเตอร์ออฟเครดิต
- 1,000.- บาท ต่อฉบับ สำหรับใบกำกับราคาสินค้าฉบับแรก
- 300.- บาท ต่อฉบับ สำหรับใบกำกับราคาสินค้าฉบับต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น